Category Archives: ตำบลสระสี่เหลี่ยม

ตำบลสระสี่เหลี่ยม

ตำบลสระสี่เหลี่ยม is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by focus keyword name in category.

ตำบลสระสี่เหลี่ยม เป็นตำบลหนึ่งใน20ของอำเภอพนัสนิคม

อำเภอพนัสนิคม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดชลบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา อดีตมีสถานะเป็นเมืองชื่อเมืองพนัสนิคม ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ต่อมารวมเมืองพนัสนิคมและเมืองบางละมุงขึ้นกับเมืองชลบุรี เป็นจังหวัดชลบุรี สังกัดมณฑลปราจีน ในปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดชลบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอพนัสนิคมตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวจังหวัดไปทางตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตรตามเส้นทางถนนศุขประยูร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

อนึ่งอาณาเขตเมืองพนัสนิคมเดิมนั้น มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภออื่นๆในปัจจุบันของจังหวัดชลบุรี ดังนี้

  • บ้านท่าตะกูด เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม ก่อนจัดตั้งเป็นอำเภอท่าตะกูด และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพานทอง
  • ตำบลคลองพลู เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม ก่อนที่จะโอนมาขึ้นกับอำเภอบ้านบึงเมื่อ พ.ศ. 2418 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอหนองใหญ่
  • ตำบลบ่อทอง เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอบ่อทอง เมื่อ พ.ศ. 2528
  • ตำบลเกาะจันทร์ และตำบลท่าบุญมี เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเกาะจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2550

ช่วงชุมชนเก่าสุดที่พบในพนัสนิคม อยู่บ้านโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม มีอายุราว 3,000 ปี โดยนักโบราณคดีขุดพบโครงกระดูกเจ้าแม่ (หมอผี, หัวหน้าเผ่า) มีลูกปัดนับแสนเม็ดฝังรวมอยู่

ช่วงเมืองเก่าสมัยทวารวดี มีอายุราว 1,500 ปี อยู่ในตำบลหน้าพระธาตุ ต่อมาเรียกสมัยหลังว่าเมืองพระรถ (ชื่อสมมุติจากรถเสนฃาดกในปัญญาสชาดก เป็นที่แพร่หลายในชาวลาว) อายุอยู่ในราวหลัง พ.ศ. 1000 เมืองโบราณยุคทวารวดีที่พนัสนิคมนี้ได้ลดความสำคัญลงและในที่สุดรกร้างไปราวหลัง พ.ศ. 1500 เพราะเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนไป แล้วมีบ้านเมืองแห่งใหม่ใกล้ทะเลเติบโตมีความสำคัญแทนที่

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม

ช่วงเมืองพนัสนิคม โดยกำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทราในปี พ.ศ. 2371 และพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม(บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทสาร(บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย(บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนมและเป็นโอรสในพระบรมราชา(ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) ลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม การอพยพครั้งแรกนำโดยท้าวศรีวิไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราฃา(ท้าวกู่แก้ว)เจ้าเมืองนครพนม ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้จึงได้ไปอยู่เมืองพนัสนิคมในเวลาต่อมา

ใน พ.ศ. 2372 พระอินทอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม ได้ไปเกลี้ยกล่อมครอบครัวลาวเมืองนครพนมมาอยู่ที่เมืองพนัสนิคมอีกจำนวนหนึ่ง

ใน พ.ศ. 2391 พระอินทอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม คุมลาวเมืองพนัสนิคมยกไปทางบกปราบกบฏจีนตั้วเหี่ย เมืองฉะเชิงเทรา มีพรรณนาไว้ในพระราชพงศาวดารฯ เรื่องเจ้าพระยาพระคลังกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาปราบจีนตั้วเหี่ย เมืองฉะเชิงเทรา

ใน พ.ศ. 2394 พระอินทอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม คุมลาวเมืองพนัสนิคมร่วมเป็นกองกำลังอารักขาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีพรรณนาในพระราชพงศาวดารฯ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย เมืองพนัสนิคมจึงเข้าอยู่ในมณฑลปราจีน ดังมีบันทึกว่า “รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือ เมืองปราจีนบุรี 1 เมืองนครนายก 1 เมืองพนมสารคาม 1 เมืองฉะเชิงเทรา 1 รวม 4 หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล 1 เรียกว่า มณฑลปราจีน ตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ทำการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก 3 รวมเป็น 7 เมืองด้วยกัน แต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่ตามเดิม ”

ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบ “เมือง” ทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็น “จังหวัด” แทน โดยเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุงรวมกันกลายเป็นจังหวัดชลบุรี โดยอำเภอพนัสนิคมมีนายอำเภอพนัสนิคมคนแรกคือ หลวงสัจจพันธ์คีรี ศรีรัตนไพรวัน เจฏิยาสัน คามวาสี นพ-คูหาพนมโขลน นามเดิมว่า บัว ไม่ทราบนามสกุล

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอพนัสนิคมแบ่งออกเป็น 20 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งย่อยออกเป็นหมู่บ้านรวม 185 หมู่บ้าน

1. ตำบลพนัสนิคม (Phanat Nikhom) 11. ตำบลท่าข้าม (Tha Kham)
2. ตำบลหน้าพระธาตุ (Na Phra That) 12. ตำบลหนองปรือ (Nong Prue)
3. ตำบลวัดหลวง (Wat Luang) 13. ตำบลหนองขยาด (Nong Khayat)
4. ตำบลบ้านเซิด (Ban Soet) 14. ตำบลทุ่งขวาง (Thung Khwang)
5. ตำบลนาเริก (Na Roek) 15. ตำบลหนองเหียง (Nong Hiang)
6. ตำบลหมอนนาง (Mon Nang) 16. ตำบลนาวังหิน (Na Wang Hin)
7. ตำบลสระสี่เหลี่ยม (Sa Si Liam) 17. ตำบลบ้านช้าง (Ban Chang)
8. ตำบลวัดโบสถ์ (Wat Bot) 18. ตำบลโคกเพลาะ (Khok Phlo)
9. ตำบลกุฎโง้ง (Kut Ngong) 19. ตำบลไร่หลักทอง (Rai Lak Thong)
10. ตำบลหัวถนน (Hua Thanon) 20. ตำบลนามะตูม (Na Matum)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอพนัสนิคมประกอบด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น 20 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองพนัสนิคม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพนัสนิคมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหมอนนาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหมอนนางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกุฎโง้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุฎโง้งทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหัวถนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวถนนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าพระธาตุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเซิด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเซิดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเริกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระสี่เหลี่ยมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้ามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขยาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขยาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งขวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเหียงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาวังหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาวังหินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพลาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเพลาะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไร่หลักทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไร่หลักทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนามะตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนามะตูมทั้งตำบล

พระพุทธรูปประจำเมือง[แก้]

หอพระพนัสบดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

พระพนัสบดี

ประเพณีท้องถิ่น[แก้]

สถานที่สำคัญ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และแหล่งโบราณคดี[แก้]

สถานศึกษา[แก้]

ตำนานเมืองพระรถ[แก้]

นิทานเรื่องพระรถ-เมรี แพร่หลายในหมู่ชาวสองฝั่งโขง ยังบอกเล่าเรื่องพระรถ-มรี กับสถานที่ต่างๆที่นั่นด้วยจนทุกวันนี้ เรื่องพระรถ-เมรีนี้จัดเป็นชาดกนอกนิบาต ซึ่งหมายถึงชาดกที่แต่งขึ้นโดยอาศัยเค้าโครงจากนิทานพื้นบ้าน และไม่พบต้นฉบับในพระไตรปิฎก เรื่องพระรถกับนางเมรีนี้คงเป็นของผู้คนแถบสองฝั่งโขงมาแต่ดึกดำบรรพ์ จึงได้ถูกบันทึกไว้ในรูปของชาดกเรื่องหนึ่ง โดยพระสงฆ์ชาวเชียงใหม่ ราว พ.ศ. 2000 ถึง 2200 และจดไว้ในใบลานจำนวน 50 ผูก รู้จักกันในชื่อว่า “ปัญญาสชาดก” ในคำอธิบายต้นเล่ม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกไว้ว่าคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรื่องรถเสนฃาดก “เดี๋ยวนี้เห็นจะมีอยู่แต่ในประเทศสยาม กับที่เมืองหลวงพระบางแลที่กรุงกัมพูชา” ซึ่งก็หมายความว่านิทานเหล่านี้น่าจะจัดเป็นเรื่องเล่าเก่าแก่ของดินแดนสุวรรณภูมินั่นเองในปัญญาสชาดก เรื่องรถเสนชาดก เรียกนางเมรีว่า นางกังรี แล้วยังมีฉบับอื่นๆ อีกมากมายที่เรียกชื่อตัวละครเพี้ยนกันไปต่างๆ เช่นในพงศาวดารล้านช้างเรียกนางเมรีว่า นางกางรี

ตำนานเมืองพระรถของชาวพนัสนิคม เชื่อกันว่าเมืองพนัสนิคมคือเมืองของพระรถเสนตามรถเสนชาดก ความว่า กาลครั้งหนึ่งในพระศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า มีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อว่า นันทะ อยู่ในบ้านสมิทธคาม เป็นคนมีทรัพย์สมบัติมาก แต่ไม่มีบุตรและธิดาเลย ด้วยเหตุนี้เขาจึงถือกล้วยสิบสองผลทูนศีรษะของตนไปยังพระอาราม ประสงค์จะถวายพระพุทธเจ้า จึงรำพึงในใจว่าเราทำการบูชาพระกัสสปสัมพุทธเจ้า เราจะปรารถนาให้ได้บุตรในอนาคตกาล เราจักได้บุตรและธิดาเป็นอันมาก ต่อมาภรรยาของเศรษฐีก็ตั้งครรภ์ ในไม่ช้าก็คลอดธิดาถึงสิบสองคน

ในกาลนั้นธิดาเหล่านั้นยังเป็นเด็กเที่ยวไปเล่นไป จนภายหลังทรัพย์สมบัติเงินทองในเรือนของเศรษฐีก็ย่อยยับไป ทาสีทาสาก็พากันล้มตายไป นันทเศรษฐีกับภรรยาก็กลายเป็นคนยากจนเข็ญใจ ส่วนเศรษฐีก็ยังต้องหาข้าวต้มและข้าวสวยมาเลี้ยงธิดาต่อไปอีก ต่อม อาหารมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้นก็หมดไป ด้วยเหตุนี้เศรษฐีจึงโกรธแล้วพาธิดาทั้งสิบสองคนขึ้นเกวียนขับเกวียนไปปล่อยเสียในป่า แล้วขับเกวียนกลับมายังเคหสถานของตน ได้ทราบว่าในชาติปางก่อนนันทเศรษฐีได้ถือเอาทรัพย์สมบัติมีทองและเงินเป็นต้นของธิดาเหล่านั้นไปในเวลาบริโภคอาหาร แล้วไม่ได้ให้คืน ด้วยเหตุวิบากของกรรมเก่าที่ติดตามมา เศรษฐีจึงได้กลายเป็นคนอนาถา ถูกธิดาทั้งสิบสองคนบีบคั้น

ในกาลนั้นธิดาทั้งสิบสองคนจึงเที่ยวหาบิดาอยู่ในป่า ไม่ช้าก็ไปถึงสวนของสันธมาลา เวลานั้นนางสันธมารยักษิณีเข้าไปในสวนได้เห็นธิดาสิบสองคนแล้ว มีจิตรักใคร่จึงพาไปเลี้ยงไว้เหมือนน้องหมดทั้งสิบสองคน คราวหนึ่งธิดาผู้เป็นพี่ใหญ่ได้เห็นนางสันธมาลากินเนื้อมนุษย์ จึงบอกน้องทุกคนว่า พวกเราพากันมาอยู่ในสำนักของนางยักษ์ น้องทั้งปวงได้ฟังแล้วก็กลัว จึงพากันหนีไปทั้งสิบสอง ภายหลังนางสันธมาลาข้าไปในสวนไม่เห็นธิดาทั้งสิบสองคนก็ออกเที่ยวตามหา ธิดาทั้งสิบสองคนหนีไปได้ไม่ไกลนักก็เข้าไปอยู่ในท้องช้าง นางสันธมารยักษิณีตามหาไม่เห็นจึงถามช้าง เมื่อช้างตอบว่าเราไม่เห็น จึงกลับไปในสวน ธิดาทั้งสิบสองคนจึงออกจากท้องช้าง นางสันธมารยักษิณีก็ตามมาอีก จึงพากันเข้าท้องม้าบ้าง ท้องโคบ้าง พอนางสันธมารยักษิณีถามสัตว์ตัวไหนว่า เห็นธิดาทั้งสิบสองคนไหม สัตว์ทั้งหมดต่างตอบว่า ไม่เห็น นางจึงกลับไป ได้ทราบว่า ในชาติปางก่อน เมื่อนางสิบสองคนเป็นเด็กกำลังเล่นอยู่ ได้จับเอาลูกสุนัขเล็กๆ ไปทิ้งไว้ในป่าถึงสิบสองตัว กรรมที่เป็นบางนี้ได้ให้ผลแก่นางสิบสองคนถึงห้าร้อยชาติ ด้วยกรรมที่เป็นบาปนั้น

นางสิบสองคนจึงได้เที่ยวไปในป่าในประเทศนั้นโดยลำดับจนถึงกุตารนคร ที่นครนั้นมีต้นไทรต้นหนึ่งอยู่ริมฝั่งสระของพระนคร นางสิบสองได้เห็นต้นไทรแล้ว จึงพากันขึ้นไปนั่งอยู่บนต้นไทรนั้น เวลานั้น พระเจ้ารถสิทธิ์ครองราชสมบัติอยู่ในกุตารนคร ได้พระราชทานหม้อน้ำทองแก่นางทาสีค่อมคนหนึ่ง เพื่อใช้สำหรับตักน้ำสรงมาถวาย นางทาสีค่อมถือหม้อน้ำทองไปถึงสระนั้นแล้ว ได้เห็นฉายรัศมีของนางสิบสองส่องสว่างมาถึงตน นางเกิดความโกรธจึงทุบหม้อน้ำทองทิ้งเสีย แล้วกลับมา พระเจ้ารถสิทธิ์ทอดพระเนตรไม่เห็นหม้อน้ำทองคำ จึงพระราชทานหม้อน้ำเงินให้แก่นางทาสีค่อม นางทาสีค่อมถือหม้อน้ำเงินไปเห็นอาการอย่างนั้นอีก ก็เกิดความโกรธ จึงทุบหม้อน้ำเงินทิ้งเสียอย่างนั้นแล้วก็กลับมา พระเจ้ารถสิทธิ์ทอดพระเนตรไม่เห็นหม้อน้ำเงิน ก็พระราชทานหม้อน้ำทำด้วยหนัง นางถือหม้อน้ำหนังไปถึงสระน้ำอีก เห็นอาการอย่างนั้นก็เกิดความโกรธทุบหม้อหนังเสียอย่างนั้นอีก แต่หม้อน้ำทำด้วยหนังจึงไม่แตก นางทาสีค่อมจึงต้องตักน้ำไป นางสิบสองคนเห็นอาการนั้นจึงหัวเราะตบมือขึ้น นางทาสีค่อมเงยหน้าขึ้น เห็นนางสิบสองคนอยู่บนต้นไทรมีรัศมีงดงาม จึงกลับมากราบทูลให้พระเจ้ารถสิทธิ์ทรงทราบว่า ตนได้เห็นนางฟ้าอยู่บนต้นไทร พระเจ้ารถสิทธิ์มรงสเดับแล้ว ก็เสด็จออกจากพระนครด้วยจตุรงคเสนา ทอดพระเนตรเห็นนางสิบสองคนแล้ว ทรงมีพระทัยยินดีมาก พระเจ้ารถสิทธิ์ทรงโปรดให้นางสิบสองคนนั้นนั่งบนวอ แล้วให้ประโคมเภรีดุริยางค์ดนตรีฟ้อนรำขับร้อง รับขึ้นไปยังปราสาท ตั้งไว้ในที่เป็นพระมเหสีเป็นที่รักของพระองค์ทั้งสิบสองนาง

ต่อมาภายหลัง นางสันธมารยักษิณีได้ทราบว่า นางสิบสองคนได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้ารถสิทธิ์ จึงออกจากคชปุรนครรีบไปยังกุตารนคร เห็นต้นไทรริมฝั่งสระก็ขึ้นบนต้นไทร ยืนอวดรูปร่างที่สวยงามดุจนางฟ้าอยู่ เวลานั้นนางค่อมไปตักน้ำสรงยังสระนั้น ได้เห็นรัศมีของนางสันธมาร มองขึ้นไปข้างบน เห็นนางแล้ว จึงรีบไปทูลพระเจ้ารถสิทธิ์ให้ทรงทราบ พระเจ้ารถสิทธิ์ได้ฟังแล้วก็ออกจากพระนคร เสด็จไปยังที่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นนางสันธมารแล้ว มีพระทัยยินดี จึงตรัสเรียกนางลงมา นางสันธมารได้ฟังแล้วก็ลงมาจากต้นไทร พระเจ้ารถสิทธิ์ให้นั่งบนวอทองพาไปให้อยู่ท่ามกลางปราสาท ตั้งให้เป็นอัครมเหสีผู้ใหญ่ นางสันธมารนั้นเป็นที่รักของพระองค์เป็นอันมากเพราะนางสันธมารมีรูปร่างงดามกว่าอพระมเหสีเก่าของพระเจ้ารถสิทธิ์ทั้งสิบสองนาง ก็วิบากกรรมเก่าของนางสิบสองมาถึงแล้ว ได้ทราบว่า ในชาติปางก่อน นางทั้งสิบสองนี้เคยเป็นนางทาริกา พากันไปเล่นที่ริมฝั่งน้ำ ได้จับปลาสิบสองตัวมาวางไว้ที่บนบก น้องคนเล็กได้แทงตาของปลาตัวหนึ่งข้างหนึ่ง พี่สาวอีก ๑๑ คนแทงตาของปลา ๑๑ ตัวทั้ง ๒ ข้าง เลิกเล่นแล้วจึงได้ปล่อยไป ด้วยวิบากกรรมนั้นนางสันธมารยักษิณีจึงแกล้งหาเลสลวงว่าตนกำลังเป็นไข้ เมื่อพระเจ้ารถสิทธิ์ตรัสถามว่านางสันธมารต้องการอะไร จึงทูลว่าข้าแต่สมมติเทวราชเจ้า เวลานี้หม่อมฉันถูกความทุกข์ครอบงำเหลือเกิน ถ้าโปรดเกล้าให้หม่อมฉันควักลูกตานางสิบสองเสียได้ จะเป็นที่สบายอารมณ์เป็นอันมาก พระเจ้ารถสิทธิ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงให้ตรัสเรียกนางสิบสองมาเฝ้า แล้วบังคับให้นั่งเรียงลำดับกันตามคำสั่งของนางสันธมาร

เวลานั้นนางสันธมารจึงลุกขึ้นจากที่นอน แล้วควักลูกตานางสิบสอง ในขณะที่โลหิตกำลังหลั่งไหลอยู่ ก็ส่งลูกตานั้นไปให้ธิดาของตนเก็บรักษาไว้ พระเจ้ารถสิทธิ์เมื่อทรงไม่เห็นนางสิบสอง จึงทรงเสวยทุกขเวทนาไม่สบายพระทัยเลย นางสิบสองได้เสวยทุกขเวทนาอันเป็นผลกรรมที่ตนทำไว้แต่ในอดีตชาติแล้ว พี่สาวทั้ง ๑๑ คนได้ความลำบากมากกว่า เพราะถูกควักลูกตาทั้งสองข้าง แต่น้องสาวสุดท้องยังแลเห็น เพราะยังมีตาเหลืออยู่ข้างหนึ่ง

ในขณะที่เสวยทุกขเวทนา น้องสาวสุดท้องได้เจริญภาวนาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่มาไม่ช้านาน พี่สาวทั้งสิบเอ็ดคนก็ตั้งครรภ์ แต่น้องสาวคนสุดท้องยังไม่ตั้งครรภ์ ในขณะนั้นภพท้าวสักกเทวราชก็แสดงอาการร้อน ท้าวสักกเทวราชทรงรำพึงอยู่ จึงรู้เหตุนั้นว่า นางสิบสองเกิดความลำบากหาที่พึ่งมิได้ แล้วทรงหาบุตรซึ่งสมควรแก่นางนั้น ได้เห็นพระโพธิสัตว์เจ้ามีพระชนมายุจะสิ้นอยู่แล้ว ปรารถนาจะไปเกิดยังเทวโลกสูงขึ้นไป จึงเสด็จไปยังสำนักพระโพธิสัตว์เจ้า แล้วตรัสว่า ท่านควรจะไปเกิดยังมนุษยโลก พระมหาโพธิสัตว์เจ้าได้ฟังแล้วกล่าวว่า การที่หม่อมฉันจะไปเกิดในมนุษยโลกมีอานิสงส์เพียงใด ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า ท่านจะได้ไปสร้างบารมี จะได้เป็นที่พึ่งแก่มหาชน

ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าก็จุติจากเทวโลก ลงมาถือปฏิสนธิในกุจฉิประเทศของน้องคนสุดท้อง พระเจ้ารถสิทธิ์สั่งให้อำมาตย์ขุดอุโมงค์ จับนางสิบสองขังไว้ในอุโมงค์แล้วให้ปิดอุโมงค์เสีย ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าจำเดิมแต่พระองค์เกิดมา ก็ได้บรรเทาทุกข์ของนางสิบสองให้เบาบางลง เมื่อครรภ์ถ้วนทศมาส นางสิบเอ็ดคนก็คลอดบุตร อาหารที่จะกินก็ไม่มี นางเหล่านั้นจึงฉีกเนื้อบุตรแบ่งกันกิน นางเหล่านั้นกินเนื้อบุตรเลี้ยงตนมาทุกวันๆ เหมือนนางยักษ์ อยู่มาภายหลังน้องสุดท้องตั้งครรภ์ถ้วนทศมาสแล้ว ก็คลอดพระมหาโพธิสัตว์ มีรูปทรงเปล่งปลั่งดังสีทอง นางเหล่านั้นจึงตั้งนามว่า รถเสนกุมาร

ต่อมาพระโพธิสัตว์เจ้าจึงถามพระมารดาว่า แม่สถานที่นี้เป็นอะไร พระมารดาบอกว่า ที่นี้เป็นอุโมงค์ พระเจ้ารถสิทธิ์ให้ขุดไว้ให้แม่กับญาติของเจ้าเข้ามาอยู่ในอุโมงค์นี้ พระโพธิสัตว์เจ้าได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงมีหทัยหวั่นไหวเกิดความทุกข์รำพึงว่า มารดากับญาติของเราเป็นคนอนาถา เป็นคนกำพร้าได้ความลำบากนัก พระสัพพัญญุตญาณก็ส่องสว่างไปด้วยพระรัศมีทั่วทั้งอุโมงค์ พระมหาโพธิสัตว์เจ้าได้เห็นแล้วก็บังเกิดความโสมนัส เทพยดาที่รักษาประตูอุโมงค์ก็ปิดประตูอุโมงค์ไว้ พระมหาโพธิสัตว์เจ้าขึ้นไปเบื้องบนประตูอุโมงค์ แล้วทำการอธิษฐาน แลขึ้นไปบนอากาศ อ้อนวอนให้ท้าวสักกเทวราชนำเอาผ้ามาให้ ท้าวสักกเทวราชแลลงมาทราบว่า เวลานี้พระโพธิสัตว์เจ้าไปบังเกิดในโลกมนุษย์แล้ว ก็ถือเอาเครื่องประดับ ผ้าอันงาม และพวงมาลัยทิพย์มาให้ แล้วสอนให้รู้อุบายในการเล่นการพนันต่างๆ พระมหาโพธิสัตว์เจ้าก็ถือเอาเครื่องประดับผ้าอันงามและพวงมาลัยทิพย์มาให้แก่พระมารดาและหมู่ญาติในอุโมงค์ แล้วไหว้ลาพระมารดา ออกจากอุโมงค์แลดูไปทั่วทิศได้เห็นบรรณศาลาที่มนุษย์เล่นอยู่

กุฎุมพีเหล่านั้นเป็นพวกเลี้ยงโคได้เห็นพระมหาโพธิสัตว์เจ้าแล้วก็ชวนให้เล่นด้วยกัน เมื่อพระมหาโพธิสัตว์เจ้าถามว่า ข้าแต่พี่เราจะเล่นที่ไหน พวกเขาจึงบอกให้ไปเล่นที่สนามชนไก่ แล้วก็พาไปที่สนามชนไก่ ครั้นนั้นพระมหาโพธิสัตว์เจ้าจึงกล่าวว่า ถ้าข้าแพ้พี่ทั้งหลายข้าจะให้ทองและแก้ว ถ้าพี่ทั้งหลายแพ้จงให้ห่อข้าวแก่ข้าสิบสองห่อ พวกเลี้ยงโคเล่นชนไก่กันแพ้พระมหาโพธิสัตวืเจ้าหลายครั้ง จึงให้ห่อข้าวแก่พระมหาโพธิสัตว์เจ้าสิบสองห่อ แล้วพระมหาโพธิสัตว์เจ้าถือเอาห่อข้าวสิบสองห่อไปให้พระมารดาและญาติรับประทาน แล้วแสดงธรรมให้พระมารดาฟังว่า ญาติทั้งหลายจงพากันฟังธรรม ความสุขที่จะเสมอเหมือนด้วยธรรมไม่มี ขุมทรัพย์ที่จะเสมอเหมือนด้วยธรรมนั้นไม่ดี โลกที่จะเสมอด้วยธรรมนั้นไม่มี สัตว์โลกทั้งหลายที่เสวยสุขสบาย ย่อมถึงคือรักษาไว้ซึ่งธรรมอันประเสริฐของสัตว์ บรรดาญาติทั้งหลายกับพระมารดาได้ฟังธรรมแล้ว มีจิตปราโมทย์ พากันซ้องเสียงสาธุการด้วยสำเนียง แสดงความเคารพในธรรม พระมหาโพธิสัตว์จึงถามพระมารดาว่า บิดาของฉันชื่ออะไร พระมารดาตอบว่าบิดาเจ้าชื่อพระเจ้ารถสิทธิ์ รถเสนกุมารดูวิบากกรรมของญาติทั้งหลายแล้ว จึงลาพระมารดา ไปหาพวกเลี้ยงโคเล่นชนไก่ได้ความชนะจนปรากฏทั่วไป

พระเจ้ารถสิทธิ์ได้ยินคำเลี่ยงลือ จึงรับสั่งให้ราชบุรุษให้ไปพาตัวมาเข้าเฝ้า อำมาตย์ทั้งหลายก็รีบพากันออกไปหารถเสนกุมารไปเข้าเฝ้า รถเสนกุมารไปเฝ้าแล้วกระทำสีหนราทดุจพระยาราชสีห์ พระเจ้ารถสิทธิ์ตรัสว่า พ่อกุมารเจ้าจงเล่นสกากับเรา พระมหาโพธิสัตว์เจ้าทูลว่า ข้าพระบาทแพ้จะถวายตัวแก่พระองค์ พระองค์เล่นแพ้จงพระราชทานห่อข้าวแก่ข้าพระบาทสิบสองห่อ พระเจ้ารถสิทธิ์ได้สดับแล้ว ก็ทรงเล่นสกากับรถเสน เล่นครั้งแรกก็แพ้ ครั้งที่สองก็แพ้ จึงพระราชทานห่อข้าวให้แก่รถเสนกุมารสิบสองห่อ รถเสนกุมารถวายบังคมทูลลาแล้วก็ไปหาพระมารดาให้ข้าวสิบสองห่อแก่พระมารดาและญาติๆกินกัน

ครั้นรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระเจ้ารถสิทธิ์ทรงระลึกถึงรถเสนกุมาร จึงเรียกอำมาตย์มาสั่งว่า เจ้าจงไปพากุมารมาหาเรา อำมาตย์ก็ทำตามรับสั่ง บรมกษัตริย์ทอดพระเนตรเห็นรถเสนกุมารแล้ว ตรัสว่า วันนี้เจ้าจงมาบนปราสาทเถิด รถเสนกุมารได้ยินแล้วก็ขึ้นไปบนปราสาท พระเจ้ารถสิทธิ์ได้เห็นกุมารรูปงามเสมอด้วยเรือนทองเป็นที่รักเจริญใจแล้ว จึงตรัสว่า มารดาของเจ้าชื่ออะไร พระโพธิสัตว์เจ้าทูลว่า มารดาและญาติของข้าพระบาทเป็นนางสิบสองคน บิดาของข้าพระบาททรงพระนามว่า พระเจ้ารถสิทธิ์ พระมารดาและญาติของตนเป็นอัครมเหสี

ในขณะนั้นนางสันธมารยักษิณีได้ยินดังนั้น ก็รู้ว่าตนจะต้องตาย จึงเกิดทุกข์ ทำอุบายเป็นไข้เสวยความทุกขเวทนา รำพึงในใจว่าจะทำอุบายอะไรดี จึงเรียกอำมาตย์มา แล้วใช้ให้ไปทูลบรมกษัตริย์ว่า พระอัครมเหสีประชวรเป็นไข้หนัก พระเจ้ารถสิทธิ์โปรดให้หาหมอในพระนครมารักษา โรคของนางก็ไม่หาย

ครั้นชาวพระนครมาประชุมกันแล้ว จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายใครอาสาเราไปนำเอายาที่คชปุรนครมาได้ เราจะให้ทองให้เงิน ท่านทั้งหลายบรรดาที่เป็นมนุษย์ ถ้ามีใครมีความเพียรไปนำเอายาที่คชปุรนครมาได้เราจะตั้งให้เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ นางสันธมารทูลว่า ขอพระองค์จงโปรดให้รถเสนกุมารผู้เป็นราชบุตรไปจึงจะได้ พระเจ้ารถสิทธิ์จึงตรัสกับพระราชบุตรว่า เจ้าจงไปนำเอายาที่มีอยู่ในคชปุรนคร มารักษาโรคนางสันธมาร รถเสนกุมารทูลว่า ขอพระบาทเคยได้ปฏิบัติพระมารดาและญาติของข้าพระบาทอยู่ทุกวันๆ พวกเขาจึงได้มีชีวิตอยู่จนบัดนี้ ข้าพระบาทไปคชปุรนคร ใครจะช่วยปฏิบัติรักษาพระมารดาและญาติของข้าพระบาทได้ พระเจ้ารถสิทธิ์ตรัสว่า บิดาให้มีผู้คอยปฏิบัติรักษามารดาและญาติของเจ้าเอง อย่าคิดวิตกเลย พระมหาโพธิสัตว์เจ้าบังคมลา แล้วไปยังโรงเลี้ยงม้า ได้อัศวราชอาชาไนยที่ชอบใจมาหนึ่งตัว ตั้งชื่อว่า เจ้าพาชี แล้วผูกอัศวราชนั้น ตกแต่งด้วยเครื่องประดับทั้งปวงแล้ว ขึ้นขับขี่บนอากาศแล้วลงมาให้ม้าบริโภคอาหารในป่าหิมพานต์แล้ว จึงขึ้นไปบนอากาศอีกแล้วลงมายังโลกมนุษย์ เปลื้องเครื่องแต่งพาชีลงแล้วขึ้นไปบนปราสาทของนางสันธมาร นางสันธมารได้เห็นแล้วพระราชกุมารแล้วจึงเจรจาว่า เจ้าเป็นที่พึ่งที่อาศัยของแม่จงเห็นแก่แม่อนุเคราะห์แม่เถิด

ครั้นพระโพธิสัตว์เจ้าไปหาพระมารดา ไหว้ลาพระมารดาแล้วพูดว่า แม้กับญาติของฉันจงอยู่ไปพรางฉันจะไปเก็บยาที่คชปุรนคร นางสันธมารแต่งสาส์นให้พระมหาโพธิสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์รับผูกไว้ที่คอม้าพาชี แล้วขึ้นไปบนปราสาทแต่งกายเสร็จแล้ว ขึ้นอัศวราชขึ้นเหาะไปด้วยอานุภาพพาชีอัศวราช ได้เห็นอาสรมพระฤๅษีก็ลงจากอากาศเข้ายังพระอาศรม ปล่อยม้าและวางเครื่องแต่งม้าไว้ใกล้พระอาศรมพระฤๅษีแล้วก็หลับไป พระฤๅษีได้ยินม้าจึงคิดว่า นี่เสียงอะไร จึงออกมาดู ก็เห็นม้า จึงเข้าไปดูใกล้ๆ เห็นหนังสือผูกอยู่ที่คอม้า จึงแก้ออกอ่านดู ได้ทราบว่า พระเจ้ารถสิทธิ์นี้หลงรักนางสันธมาร ใช้ลูกของตนไปเมืองยักษ์จะให้ยักษ์กิน แต่กุมารนี้ควรจะเป็นผัวนางกังรีธิดาของนางสันธมารจึงเขียนสาส์นเปลี่ยนถ้อยคำเสียใหม่ ผูกไว้ที่คอม้าตามเดิม แล้วปลุกรถเสนกุมารให้ลุกขึ้น ถามว่า ท่านชื่ออะไร บิดามารดาของท่านชื่ออะไร กุมารบอกว่า บิดาของข้าพเจ้าทรงพระนามว่า พระเจ้ารถสิทธิ์ พระมารดาของข้าพเจ้า คือนางสิบสอง เป็นอัครมเหสีของพระเจ้ารถสิทธิ์นั้น ขอรับ

ครั้งนั้น พระมหาโพธิสัตว์เจ้าผูกเครื่องแต่งม้า แล้วลาพระฤๅษีขี่ม้าขึ้นบนอากาศเหาะไปด้วยอานุภาพม้าพาชี เห็นแว่นแคว้นของมารแล้ว ขณะนั้นโยธามารทั้งหลายก็มาทางอากาศ พาชีแผดเสียงดังสนั่น ท้องฟ้าอากาศบางแห่งก็เป็นควัน บางแห่งก็รุ่งเรืองประดุจเปลวไฟ พวกมารกับเสนามารได้ยินเสียงกึกก้องแล้วพากันกลัวกันตกละตึง ในขณะนั้นพาชีก็พาพระมหาโพธิสัตว์เจ้าไปถึงเสนามาร พระโพธิสัตว์เจ้าก็แก้สาส์นที่ผูกคอม้านั้นทิ้งลงไป ณ พื้นดิน เสนามารทั้งหลายได้เห็นอักษรแล้วจึงไปแจ้งความนั้นให้นางกังรีทราบ นางกังรีจึงไปหาพระมหาโพธิสัตวืเจ้าได้อภิเษกครองสมบัติเสวยราชสมบัติอยู่ในคชปุรนครเจ็ดเดือนบริบูรณ์

วันหนึ่ง พระเจ้ารถเสนลงจากปราสาทไปหานางกังรีแล้ว ถามนางบริวารทั้งหลายว่า ต้นไม้ชื่อว่าต้นบุนนากและต้นคิรีบุนนากมีอยู่แห่งใด ทรงทราบแล้วจึงอธิษฐาน แล้วกระทำเสียงสาธุการ พุทธบุนนาก พุทธคิรีบุนนาก ดังนี้ ทันใดนั้น เทพยดาทั้งหลาย ได้ยินพระมหาโพธิสัตว์เจ้าก็กระทำเสียงสาธุการอันกึกก้องโกลาหลว่า ท่านจะได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ พระมหาโพธิสัตว์เจ้ายื่นพระหัตถ์ไปเก็บผลไม้ได้แล้วก็มีหทัยยินดี จึงให้เสนาตรวจตราพลนิกายเสร็จแล้ว เมื่อถึงประตูให้ยักษ์พันหนึ่งเปิดให้ แล้วก็ขึ้นยังปราสาทเสด็จประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ พระเจ้ารถเสนจึงบอกนางกังรีเทวีว่า เจ้าจงบังคับให้พวกนิกายทั้งปวงเล่นการมหรสพ นางกังรีเทวีก็บังคับให้พวกพลนิกายเล่นมหรสพกัน พระเจ้ารถเสนจึงออกอุบายให้นางกังรีดื่มน้ำสุราบานเป็นที่สบายใจ แต่พระองคืหาดื่มไม่ ส่วนนางกังรีเทวีดื่มน้ำเมาแล้วก็ล้มลงบนที่ไสยาสน์ จึงบอกพระมหาโพธิสัตว์เจ้าว่า ลูกตานางสิบสองเธอแขวนไว้ที่ข้างบนครัวไฟ พระมหาโพธิสัตว์เจ้าจึงถามว่า ยาที่จะทำลูกตาขึ้นสว่างมีหรือไม่ นางกังรีทูลว่า ยาห่อหนึ่งที่แขวนอยู่นั้นเป็นยาทิพย์สำหรับรักษาลูกตา พระมหาโพธิสัตว์เจ้าได้ฟังแล้วก็เกิดพระทัยโสมนัสรำพึงว่าเราจะได้เห็นพระพักตร์พระมารดาแล้ว พอนางกังรีหลับไปแล้ว ก็ฉวยเอายาเหล่านั้นขึ้นยังพาชีหนีไปในเวลาเที่ยงคืน จนถึงเมืองกุตารนคร

ส่วนนางสันธมารเห็นพระโพธิสัตว์แต่ที่ไกล ก็ไปสู่ปราสาทเสียใจจนหทัยแตกออกไป ๗ เสี่ยงทำกิริยาตายไป พระโพธิสัตว์ถือเอายาทิพย์เข้าไปที่อุโมงค์ใส่ตาแห่งพระมารดาและญาติทั้งหลาย ตาแห่งมารดาและญาติก็กลับสว่างขึ้น พระเจ้ารถสิทธิ์จึงตั้งนางสิบสองไว้ในอัครมเหสี มีสมาคมเป็นสุขยิ่งใหญ่ด้วยนางทั้งสิบสองนั้น

ต่อมาพระเจ้ารถสิทธิ์จึงทรงอภิเษกพระรถเสนราชบุตรไว้ในราชสมบัติ พระเจ้ารถเสนก็ดำรงสิริราชสมบัติโดยทำนองคลองธรรม ทรงอุปถัมภ์แก่มหาชนจำเดิมแต่เสวยราชย์มา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในชาติปางก่อน เมื่อเราบำเพ็ญโพธิสมภาร เราก็ได้มีความกตัญญูกตเวทีแก่มารดาและญาติแล้ว

นามสกุลพระราชทานที่เกี่ยวข้องกับเมืองพนัสนิคม[แก้]

  • ตระกูลทุมมานนท์ เป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานที่ ๑๔๐๕ “ทุมมานนท์” (เขียนแบบโรมันว่า Dummananda) อันสืบเชื้อสายมาจากพระอินทอาษา (ท้าวอินทิสาร ทุมมานนท์) เจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรก พระราชทานแก่หลวงประพิธวยาการ(ภิรมย์ ทุมมานนท์) เลฃานุการกรมไปรษณีย์โทรเลข, นายร้อยโทพินิจ ทุมมานนท์ ผู้บังคับกองร้อยที่ ๑ กรมทหารม้าที่ ๕(น้องชาย)และนายวัณณี ทุมมานนท์(บิดา)

อนึ่งตระกูลทุมมานนท์ ถือเป็นสายเครือญาติกลุ่มตระกูลเจ้านายเมืองนครพนม โดยอุปฮาด(ท้าวศรีวิไชย หรือ ศรีวิชัย) บิดาของพระอินทอาษา(ท้าวอินทิสาร ทุมมานนท์) เจ้าเมืองพนัสนิคมนั้น สืบเชื้อสายมาจากบิดานามว่าพระบรมราชา(ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองมรุกขนคร (ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองนครพนม), พี่ชายนามว่าพระบรมราชา(ท้าวพรหมา) เจ้าเมืองนครพนม ซึ่งทายาทได้เป็นเจ้าเมืองมหาไชยกองแก้วและเจ้าเมืองสกลนคร ต้นตระกูล “พรหมสาขา ณ สกลนคร”, พี่เขยนามว่าพระบรมราชา(สุดตา) เจ้าเมืองนครพนม กลุ่มตระกูลสาย “ณ นครพนม” และหลานนามว่าพระบรมราชา(มัง) เจ้าเมืองนครพนม

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Call Now Button