Category Archives: ตำบลตลาดน้อย
ตำบลตลาดน้อย
ตำบลตลาดน้อย เป็นตำบลหนึ่งใน9ของ อำเภอบ้านหมอ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองโดน ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพระพุทธบาทและอำเภอเสาไห้
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอบ้านหมอมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองโดน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพระพุทธบาทและอำเภอเสาไห้
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าเรือ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอดอนพุด
ประวัติ[แก้]
เดิมในสมัยโบราณเมื่อยังไม่มีอำเภอพระพุทธบาทนั้น การปกครองบริเวณพระพุทธบาทสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้โปรดกำหนดเขตท้องที่จากรอยพระพุทธบาทออกไปด้านละโยชน์ (16 กิโลเมตร) และทรงตั้งเมืองพระพุทธบาทขึ้น จัดเป็นเมืองชั้นจัตวาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา เมืองพระพุทธบาทนั้คงเป็นเมืองตลอดมาจนถึงรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้จัดการปกครองหัวเมืองแบบใหม่ โดยตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2445 ยุบเมืองพระพุทธบาทเป็นอำเภอ “อำเภอพระพุทธบาท” ให้ขึ้นอยู่กับเมืองสระบุรี ปี พ.ศ. 2445 มีการสร้างทางรถไฟไปถึงลพบุรี ตำบลหนองโดนก็มีทางรถไฟผ่าน ครั้นปี พ.ศ. 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระพุทธบาทเกิดโรคห่าระบาดขึ้น จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ตำบลหนองโดน เพื่อสะดวกต่อการคมนาคมในสมัยนั้น และเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอหนองโดน” บ้านหมอ และพระพุทธบาท ก็กลายเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหนองโดน
ต่อมา พ.ศ. 2464 มีการค้นพบดินขาวที่ใช้ผสมปูนซีเมนต์ได้ที่บ้านหมอ และมีการจ้างกรรมกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีนขุด ขนส่งไปป้อนโรงงานที่บางซื่อ จากชุมชนเล็กๆ บ้านหมอก็ได้ขยายตัวจนเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนในปี พ.ศ. 2484 บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ได้มาตั้งโรงงานที่ท่าลาน ตำบลบ้านครัวประกอบกับที่ว่าการอำเภอหนองโดนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ทางราชการไม่มีงบประมาณซ่อมแซม หลวงพัฒน์ พงศ์พานิช (พ่อค้าคหบดีชาวจีน ต้นสกุล “ผู้พัฒน์”) ได้สร้างที่ว่าการอำเภอให้ใหม่ที่ตำบลบ้านหมอ และย้ายอำเภอมาไว้ที่นี่ อำเภอใหม่จึงชื่อว่า “อำเภอบ้านหมอ” สืบมาจนปัจจุบัน ส่วนหนองโดนก็กลายเป็นตำบลของอำเภอบ้านหมอ
- วันที่ 16 เมษายน 2442 ท้องที่แห่งนี้มีฐานะเป็น เมืองพระพุทธบาท โดยมีหลวงอุปธารก์นิคมกิจ เป็นผู้ว่าราชการเมือง[1]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2445 ให้เมืองพระพุทธบาท มีฐานะลงเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอพระพุทธบาท[2][3]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 ย้ายที่ว่าการอำเภอพระพุทธบาท มาตั้งที่สถานีรถไฟบ้านหนองโดน ตำบลหนองโดน และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็น อำเภอหนองโดน[4] และที่ว่าการอำเภอเดิม ให้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกชื่อกิ่งอำเภอว่า กิ่งอำเภอพระพุทธบาท และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอหนองโดน มีทั้งหมด 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลกกโก ตำบลท่าศาลา และตำบลขุนโขลน
- วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2464 มีฐานะเป็นอำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี มีทั้งหมด 13 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองโดน[5] ตำบลบ้านครัว ตำบลบ้านหมอ ตำบลตลาดน้อย ตำบลบ้านร่อม ตำบลหรเทพ ตำบลดอนพุด ตำบลโคกลำพาน ตำบลดงตะงาว ตำบลสะพานช้าง ตำบลบ้านกลับ ตำบลไผ่หลิ่ว ตำบลดอนทอง[6]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบ้านหมอแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 79 หมู่บ้าน
1. | บ้านหมอ | (Ban Mo) | 12 หมู่บ้าน | 6. | โคกใหญ่ | (Khok Yai) | 6 หมู่บ้าน | |||||||
2. | บางโขมด | (Bang Khamot) | 11 หมู่บ้าน | 7. | ไผ่ขวาง | (Phai Khwang) | 7 หมู่บ้าน | |||||||
3. | สร่างโศก | (Sang Sok) | 9 หมู่บ้าน | 8. | บ้านครัว | (Ban Khrua) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
4. | ตลาดน้อย | (Talat Noi) | 8 หมู่บ้าน | 9. | หนองบัว | (Nong Bua) | 7 หมู่บ้าน | |||||||
5. | หรเทพ | (Horathep) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบ้านหมอประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบ้านหมอ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านหมอ
- เทศบาลตำบลท่าลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านครัวทั้งตำบล (สุขาภิบาลท่าลานเดิม)[17][25]
- เทศบาลตำบลตลาดน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดน้อยทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางโขมด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโขมดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสร่างโศก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร่างโศกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองขีดขิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหมอ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านหมอ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกใหญ่หรเทพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหรเทพและตำบลโคกใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ขวางทั้งตำบล