Category Archives: ตำบลศรีมหาโพธิ
ตำบลศรีมหาโพธิ
ตำบลศรีมหาโพธิ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by focus keyword name in category.
ตำบลศรีมหาโพธิ เป็นตำบลหนึ่งใน10ของอำเภอศรีมหาโพธิ
อำเภอศรีมหาโพธิ [—สี-มะ-หา-โพด][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของภาคตะวันออก
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
เดิมที่ว่าการอำเภอศรีมหาโพธิ ตั้งอยู่ที่บ้านหาดยาง ตำบลหาดยางซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีมหาโพธิ ปัจจุบันประมาณ 8 กม. ไม่มีตัวอาคารที่ว่าการอำเภอ ใช้บ้านพักของหลวงจัดโจรกรรม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอในสมัยนั้น เป็นสถานที่ทำการอำเภอระหว่าง พ.ศ. 2440 – 2447
ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่บ้านเกาะกะพี้ ตำบลศรีมหาโพธิ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอปัจจุบันไปตามลำน้ำบางปะกงด้านทิศเหนือ ประมาณ 1 กม. การย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งมาอยู่ที่บ้านเกาะกะพี้นี้ตั้งอยู่ได้ถึง พ.ศ. 2458 จึงได้ย้ายไปตั้งใหม่ ณ ที่บ้านท่าประชุม หมู่ที่ 4 ตำบลศรีมหาโพธิ สถานที่แห่งใหม่นี้อยู่ติดกับริมแม่น้ำบางปะกง จนถึง พ.ศ. 2508 จึงได้ย้ายมาตั้งใหม่ เป็นตัวอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ อยู่ริมทางหลวงสายปราจีนบุรี – ศรีมหาโพธิ (ทางหลวงสายสุวินทวงศ์) ห่างจากที่ว่าการอำเภอหลังเดิมประมาณ 700 เมตร สาเหตุที่ย้ายเนื่องจากอาคารหลังเดิมเก่าและชำรุดทรุดโทรมมาก
ความหมายของชื่ออำเภอ “ศรีมหาโพธิ” เนื่องจากที่ตำบลโคกปีบ ซึ่งเดิมขึ้นการปกครองอยู่กับอำเภอศรีมหาโพธิ (ปัจจุบันตั้งเป็นอำเภอศรีมโหสถ) มีต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิอยู่ต้นหนึ่ง เป็นต้นโพธิ์ที่มีขนาดใหญ่มาก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าต้นโพธิ์นี้ได้นำพันธุ์มาจาก “ต้นพระศรีมหาโพธิ” พุทธคยาประเทศอินเดีย เพราะสมัยนั้นพระพุทธศาสนาได้แพร่มาถึงอาณาจักรสุวรรณภูมิราวพุทธศักราช 300 แล้ว ได้แพร่มาถึงทวาราวดีราวพุทธศักราช 500 ความเจริญของพระพุทธศาสนาดังกล่าวนี้ บรรดาสมณะทูตทั้งหลายจะนำเอาพระศรีมหาโพธิพันธุ์พุทธคยา มาปลูกเป็นบริโภคเจดีย์สำหรับกราบไหว้บูชา เพราะอาณาจักรทวาราวดีนอกจากจะได้รับแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุแล้ว คงได้รับพันธุ์พระศรีมหาโพธิพุทธคยา จากสมณะทูตมาเผยแพร่ศาสนาอีกครั้งและนำมาปลูกไว้ ณ ที่หลายแห่ง จึงน่าเชื่อว่าต้นโพธิ์ต้นนี้เป็นต้นโพธิ์พุทธคยา แต่ว่าต้นเดิมอาจจะตายไป เพราะเป็นเวลานานถึง 2,000 ปีล่วงมาแล้ว และต้นที่อยู่ปัจจุบันเป็นหน่อที่เกิดขึ้นใหม่รอบๆ ต้นเดิม และตรงที่ปลูกอยู่นั้นอยู่ในสังฆารวาสแห่งหนึ่งซึ่งมีอาณาเขตเข้าไปถึงเมืองโพธิสัตว์และเมืองตะโหนดในประเทศกัมพูชา ดังนั้นจึงเรียกว่า “ดงศรีมหาโพธิ”
เนื่องจากประชาชนในจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดใกล้เคียงถือกันว่า เป็นต้นโพธิ์ที่ได้รับพันธุ์มาจากพุทธคยาประเทศอินเดีย อันเป็นบริโภคเจดีย์สำคัญแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาจึงได้นับถือกราบไหว้บูชาระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อมีการจัดตั้งอำเภอตามแนวกาiปกครองมณฑลเทศาภิบาลขึ้น อำเภอนี้ได้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้อยู่ด้วย จึงได้นามของอำเภอว่า “ศรีมหาโพธิ”[2]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 แยกตำบลท่าประชุมชน อำเภอศรีมหาโพธิ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าประชุมชน[3]
- วันที่ 8 พฤษภาคม 2464 ยุบกิ่งอำเภอท่าประชุมชน รวมกับอำเภอศรีมหาโพธิ ดังเดิม[4]
- วันที่ 30 กันยายน 2467 ยุบตำบลดอนใหญ่ ไปรวมกับตำบลดงกระทงยาม[5]
- วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2473 โอนพื้นที่หมู่ 14,15 (ในขณะนั้น) ของตำบลสัมพันธ์ อำเภอศรีมหาโพธิ ไปขึ้นกับตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม[6]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบางกุ้ง แยกออกจากตำบลหาดยาง ตั้งตำบลคู้ลำพัน แยกออกจากตำบลไผ่ชะเลือด[7]
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลศรีมหาโพธิ ในท้องที่บางส่วนของตำบลศรีมหาโพธิ[8]
- วันที่ 23 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลท่าตูม แยกออกจากตำบลศรีมหาโพธิ์[9]
- วันที่ 17 มกราคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลโคกปีบ ในท้องที่บางส่วนของตำบลโคกปีบ[10]
- วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2512 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลศรีมหาโพธิ เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น โดยเพิ่มอาณาเขตมาถึงหมู่ที่ 6 บ้านโคกขวาง ตำบลหนองโพรง[11]
- วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2513 ได้แยกพื้นที่ตำบลโคกปีบ ตำบลคู้ลำพัน และไผ่ชะเลือด จากอำเภอศรีมหาโพธิ ไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอโคกปีบ ขึ้นกับอำเภอศรีมหาโพธิ พร้อมโอนสุขาภิบาลโคกปีบ ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอโคกปีบ อีกด้วย[12]
- วันที่ 5 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลโคกไทย แยกออกจากตำบลโคกปีบ[13]
- วันที่ 12 เมษายน 2520 ยกฐานะกิ่งอำเภอโคกปีบ เป็นอำเภอโคกปีบ[14]
- วันที่ 29 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลกรอกสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลท่าตูม[15]
- วันที่ 22 เมษายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลกรอกสมบูรณ์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลกรอกสมบูรณ์[16]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลศรีมหาโพธิ และสุขาภิบาลกรอกสมบูรณ์ เป็นเทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ และเทศบาลตำบลกรอกสมบูรณ์ ตามลำดับ
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลหาดยาง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดงกระทงยาม[17] ยุบสภาตำบลสัมพันธ์ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมหาโพธิ[18] และยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบางกุ้ง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมหาโพธิ[19]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอศรีมหาโพธิตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองปราจีนบุรีและอำเภอประจันตคาม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกบินทร์บุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสนามชัยเขตและอำเภอพนมสารคาม (จังหวัดฉะเชิงเทรา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอศรีมโหสถ
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอศรีมหาโพธิแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 90 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ศรีมหาโพธิ | (Si Maha Phot) | 12 หมู่บ้าน | 6. | ดงกระทงยาม | (Dong Krathong Yam) | 7 หมู่บ้าน | |
2. | สัมพันธ์ | (Samphan) | 7 หมู่บ้าน | 7. | หนองโพรง | (Nong Phrong) | 12 หมู่บ้าน | |
3. | บ้านทาม | (Ban Tham) | 8 หมู่บ้าน | 8. | หัวหว้า | (Hua Wa) | 17 หมู่บ้าน | |
4. | ท่าตูม | (Tha Tum) | 10 หมู่บ้าน | 9. | หาดยาง | (Hat Yang) | 4 หมู่บ้าน | |
5. | บางกุ้ง | (Bang Kung) | 5 หมู่บ้าน | 10. | กรอกสมบูรณ์ | (Krok Sombun) | 7 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอศรีมหาโพธิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกรอกสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกรอกสมบูรณ์
- เทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลศรีมหาโพธิและบางส่วนของตำบลหนองโพรง
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีมหาโพธิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีมหาโพธิ (นอกเขตเทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ) ตำบลสัมพันธ์ทั้งตำบล และตำบลบางกุ้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านทามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตูมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงกระทงยาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงกระทงยาม และตำบลหาดยางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโพรง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวหว้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกรอกสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกรอกสมบูรณ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลกรอกสมบูรณ์)
เขตอุตสาหกรรม[แก้]
- เขตอุตสาหกรรม 304
- สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ปราจีนบุรี