Category Archives: ตำบลคลองขวาง
ตำบลคลองขวาง
ตำบลคลองขวาง เป็นตำบลหนึ่งใน 7 ตำบลใน อำเภอไทรน้อย เป็นอำเภอที่จัดตั้งขึ้นล่าสุด รวมทั้งมีพื้นที่มากที่สุดและมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในจังหวัดนนทบุรี สภาพพื้นที่ทั่วไปยังคงสภาพชนบทไว้ เช่น ท้องนา ท้องไร่ บ้านเรือนแบบเรียบง่าย แต่มีระบบสาธารณูปโภคชั้นสูง เช่น โรงไฟฟ้า บ่อขยะ คลองชลประทาน และยังพบวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวนนทบุรีอีกด้วย อำเภอไทรน้อยเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างจังหวัดนนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอไทรน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด โดยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทาง 29.01 กิโลเมตร[2] และมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลาดหลุมแก้ว (จังหวัดปทุมธานี) และอำเภอบางบัวทอง มีคลองลากค้อน คลองลัดยายเป้า คลองตาคล้าย คลองลากค้อน คลองพระพิมล และคลองตาชมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางใหญ่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอบางเลน (จังหวัดนครปฐม) มีคลองนราภิรมย์ คลองทวีวัฒนา คลองสิบศอก คลองสถาพรพัฒนา คลองพระพิมล คลองรางกระทุ่ม คลองสองด้วน คลองบางภาษี และคลองสองเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่ตอนในระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระนครยังคงเป็นป่าขนาดใหญ่ มีอาณาบริเวณครอบคลุมรอยต่อระหว่างอำเภอไทรน้อยของจังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้วของจังหวัดปทุมธานี อำเภอลาดบัวหลวงของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอบางเลนของจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน สภาพพื้นที่ของป่าเป็นที่ราบลุ่ม บางแห่งเป็นหนองน้ำ และมีสัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ กวาง อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก[3] ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่แห่งนี้นอกจากจะมีต้นไทร ต้นยาง และต้นประดู่แล้ว ยังมีต้นกระทุ่มที่ขึ้นกันแน่นทึบจนแสงสว่างลอดผ่านลงพื้นดินได้น้อย ผืนป่าแห่งนี้จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ป่ากระทุ่มมืด[4]
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองทวีวัฒนาและคลองนราภิรมย์ระหว่าง พ.ศ. 2420–2423 จึงเริ่มมีชาวเมืองนนทบุรีและชาวบ้านจากถิ่นอื่นเข้าไปจับจองที่ดินชายป่ากระทุ่มมืดด้านใต้ตามสองฝั่งคลองนั้น[5] จากนั้นพระราชาภิมณฑ์ (เพ็ง) ได้ขุดคลองพระราชาภิมณฑ์ (ปัจจุบันเรียกว่าคลองพระพิมล) จากคลองบางบัวทองตอนปลายตรงเข้าไปในป่ากระทุ่มมืด ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2433–2442[6]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอไทรน้อยแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 68 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[19] |
สี | แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ไทรน้อย | Sai Noi |
11
|
31,359
|
||
2. | ราษฎร์นิยม | Rat Niyom |
8
|
6,891
|
||
3. | หนองเพรางาย | Nong Phrao Ngai |
12
|
7,852
|
||
4. | ไทรใหญ่ | Sai Yai |
11
|
6,429
|
||
5. | ขุนศรี | Khun Si |
8
|
5,064
|
||
6. | คลองขวาง | Khlong Khwang |
10
|
7,678
|
||
7. | ทวีวัฒนา | Thawi Watthana |
8
|
9,335
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอไทรน้อยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลไทรน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรน้อย (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 5) และตำบลคลองขวาง (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1)
- องค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรน้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไทรน้อย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลราษฎร์นิยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราษฎร์นิยมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเพรางาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเพรางายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไทรใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขุนศรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนศรีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขวาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไทรน้อย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทวีวัฒนาทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักจะเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดข้างเคียง คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสายสำคัญของอำเภอไทรน้อยจึงมักจะเป็นถนนสายสำคัญของจังหวัดนนทบุรีด้วย ได้แก่
- ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340)
- ถนนปทุมธานี-บางเลน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346)
- ถนนบางกรวย-ไทรน้อย (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3215)
- ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย (ทางหลวงชนบท นบ.1013)
- ถนนฤชุพันธุ์ (ทางหลวงชนบท นบ.3003)
- ถนนบางไผ่-หนองเพรางาย (ถนนวัดลาดปลาดุก; ทางหลวงชนบท นบ.1002)