It seems we can’t find what you’re looking for. Perhaps searching can help.
Category Archives: ถนนพระราม 2
ถนนพระราม 2
ถนนพระราม 2 is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
ถนนพระราม 2 (อักษรโรมัน: Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ เป็นถนนที่ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี เป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย
ถนนพระราม 2
![]() ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 |
|
---|---|
ถนนพระรามที่ 2 | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว: | 84.041 กิโลเมตร (52.221 ไมล์) |
ใช้งาน: | พ.ศ. 2516 – ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทิศตะวันออก: | ![]() |
ปลายทิศตะวันตก: | ![]() |
ระบบทางหลวง | |
ถนนพระรามที่ 2 (อักษรโรมัน: Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ เป็นถนนที่ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี เป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย และยังเป็นหนึ่งในถนนพระรามทั้ง 7 สาย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นถนนพระรามที่ 2 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ถนนพระรามที่ 2 มีระยะทางรวม 84.041 กิโลเมตร
เนื้อหา
รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]
ถนนพระราม 2 แยกจากถนนสุขสวัสดิ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303) ในพื้นที่เขตจอมทอง และตัดผ่านพื้นที่เขตบางขุนเทียน ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วสิ้นสุดที่ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) บริเวณทางแยกต่างระดับวังมะนาว อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
เส้นทางถนนอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงที่ 13 กรุงเทพ และสำนักงานทางหลวงที่ 15 ประจวบคีรีขันธ์ กรมทางหลวง ส่วนถนนพระรามอื่น ๆ เช่น พระรามที่ 1, 3, 4, 5, 6 และถนนพระราม 9 อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร
ประวัติและการก่อสร้าง[แก้]
ถนนพระรามที่ 2 ก่อสร้างในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 แล้วเสร็จและเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเส้นทางหลักมุ่งสู่ภาคใต้ ช่วยย่นระยะทางสั้นกว่าถนนเพชรเกษมประมาณ 40 กิโลเมตร จึงทำให้ประชาชนใช้เส้นทางนี้แทนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นต้นมา
ในช่วงระยะแรกเป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 2 ช่องจราจรสวนทาง ต่อมาเมื่อมีผู้สัญจรไปมาบนถนนสายนี้เป็นจำนวนมาก จนเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง อีกทั้งสภาพพื้นที่ที่เป็นบริเวณดินอ่อนตลอดสายทาง ผ่านท้องทุ่งนาเกลือ สวนมะพร้าว จึงเป็นสาเหตุทำให้คันทางมีการทรุดตัว ดินอ่อนสูง มีน้ำท่วมเป็นช่วง ๆ ผิวจราจรเกิดความเสียหาย ผู้ใช้เส้นทางได้รับความเดือดร้อนมาก
จึงได้มีโครงการก่อสร้างครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2530 โดยขยายช่องจราจรจาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร พร้อมทางแยกต่างระดับ 4 แห่ง ได้แก่ บางขุนเทียน สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ วังมะนาว แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการขยายถนนช่วงสามแยกบางปะแก้วถึงทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เป็น 14 ช่องจราจร แบ่งออกเป็นช่องทางหลัก 8 ช่องจราจร และช่องทางขนานข้างละ 3 ช่องจราจร แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2543
ในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการขยายช่องจราจรจาก 4 ช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจร และ 10 ช่องจราจรตามลำดับ ระหว่างทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร (กม.12+000-กม.34+000) ความยาวรวมประมาณ 22 กิโลเมตร เพื่อรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้น จากการขยายการก่อสร้างถนนพระรามที่ 2 ช่วงดาวคะนอง และถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก จากบางบัวทอง-บางขุนเทียน ตอน 1, 2 และ 3 ให้สอดคล้องต่อเนื่องกันตลอดสาย โดยดำเนินการก่อสร้างส่วนที่สำคัญเฉพาะทางคู่ขนานด้านขาเข้าและขาออกข้างละ 2-3 ช่องจราจร เพื่อประหยัดงบประมาณก่อสร้าง แล้วเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2545
ปัจจุบันเพื่อเป็นการรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถนนพระรามที่ 2 เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักไปสู่ภาคใต้ โดยเฉพาะช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดเทศกาล กรมทางหลวงจึงทำการก่อสร้างโครงการส่วนต่อขยายจนถึงทางแยกต่างระดับวังมะนาว (กม.34+000-กม.84+041) โดยขยายช่องจราจรจากเดิม 4 ช่องจราจรเป็น 6-8 ช่องจราจร โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ในอนาคต จะมีการขยายถนนพระราม 2 ระหว่างแยกต่างระดับบางขุนเทียน-แยกเอกชัย จาก 10 ช่องจราจร เป็น 14 ช่องจราจร คาดว่าจะแล้วเสร็จเมื่อปี 2563 รวมทั้งก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 ช่วง บางขุนเทียน-มหาชัย-วังมะนาว ระยะทาง 75 กิโลเมตร ต่อเนื่องจากโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ขนานไปกับถนนพระราม 2 ถึงทางแยกต่างวังมะนาว
สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[แก้]
สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งสะพานแห่งนี้เป็นที่มาของชื่อถนนพระรามที่ 2 ในปัจจุบัน เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชสมภพที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
สะพานดังกล่าวได้อัญเชิญพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาเป็นนามของสะพานว่า “สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขอพระบรมราชานุญาตตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า “ถนนพระรามที่ 2” ภายหลังจากกรมทางหลวงได้สร้างถนนสายธนบุรี–ปากท่อ เสร็จเรียบร้อยแล้ว
รายชื่อทางแยก[แก้]
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
กรุงเทพมหานคร | 0+000 | แยกบางปะแก้ว | ![]() |
![]() |
|
ต่างระดับดาวคะนอง | ไม่มี | ![]() |
|||
แยกหัวกระบือ | ถนนบางขุนเทียน ไป บางบอน | ถนนบางขุนเทียนชายทะเล ไป วัดหัวกระบือ | |||
9+747 | ต่างระดับบางขุนเทียน | ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() |
||
สมุทรสาคร | 21+431 | ต่างระดับเอกชัย | ![]() |
![]() |
|
27+954 | ต่างระดับสมุทรสาคร | ![]() |
![]() |
||
30+275 | − | ไม่มี | ![]() |
||
สะพาน ข้ามแม่น้ำท่าจีน | |||||
38+377 | แยกบ้านแพ้ว | ![]() |
ไม่มี | ||
− | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3403 ไป ยกกระบัตร | ไม่มี | |||
สมุทรสงคราม | − | ไม่มี | ทางหลวงชนบท สส. 2003 ไป ดอนหอยหลอด | ||
63+200 | ต่างระดับสมุทรสงคราม | ![]() |
ไม่มี | ||
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3301 ไป เข้าเมืองสมุทรสงคราม, อ.ดำเนินสะดวก | ไม่มี | ||||
− | ไม่มี | ทางหลวงชนบท สส. 2003 ไป ดอนหอยหลอด | |||
สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ข้ามแม่น้ำแม่กลอง | |||||
ราชบุรี | 83+125 | − | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3088 ไป อ.ปากท่อ, เข้าเมืองราชบุรี | ไม่มี | |
84+041 | ต่างระดับวังมะนาว | ![]() ![]() |
![]() ![]() |
||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
สถานที่สำคัญ[แก้]
|
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
|