Category Archives: แขวงจอมพล
แขวงจอมพล
แขวงจอมพล เป็นแขวงหนึ่งใน 5 แขวงใน เขตจตุจักร เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร เป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้ไขต้นฉบับ]
เขตจตุจักรตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตหลักสี่ มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตลาดพร้าว มีคลองบางบัวและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท มีคลองน้ำแก้ว คลองพระยาเวิก และคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางซื่อและอำเภอเมืองนนทบุรี (จังหวัดนนทบุรี) มีทางรถไฟสายเหนือและคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]
แต่เดิม ตำบลลาดยาว เป็นท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา มีประชากรตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ตามริมคลองสายหลัก เช่น คลองเปรมประชากร คลองบางซื่อ คลองบางเขน คลองลาดยาว เป็นต้น ต่อมาจึงได้มีชุมชนและบ้านจัดสรรต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของตัวเมืองในช่วงหลังจาก พ.ศ. 2507 อันเป็นปีที่ขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งครอบคลุมตำบลลาดยาวด้วย
ใน พ.ศ. 2514 มีประกาศรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งเปลี่ยนการเรียกคำว่าตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลลาดยาวจึงมีฐานะเป็น แขวงลาดยาว ขึ้นกับเขตบางเขน
ภายหลังพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกแขวงลาดยาวและประกาศจัดตั้งเป็น เขตจตุจักร ตามชื่อของสวนจตุจักรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขต พร้อมกับการจัดตั้งเขตดอนเมือง ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]
ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงในเขตจตุจักรใหม่ โดยจัดตั้งแขวงเสนานิคม แขวงจันทรเกษม แขวงจอมพล และแขวงจตุจักร แยกออกจากแขวงลาดยาว เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการให้บริการของเขต เพราะเดิมเขตจตุจักรมีเพียงแขวงลาดยาวเพียงแขวงเดียว แต่มีพื้นที่กว้างขวางและมีประชากรอาศัยหนาแน่น จึงทำให้มีเลขที่บ้านซ้ำกันเป็นจำนวนมาก โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน[2][3] ทำให้ในปัจจุบัน เขตจตุจักรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
ลาดยาว | Lat Yao |
10.690
|
39,689
|
3,712.72
|
|
2.
|
เสนานิคม | Sena Nikhom |
2.826
|
20,393
|
7,216.21
|
|
3.
|
จันทรเกษม | Chan Kasem |
6.026
|
37,875
|
6,285.26
|
|
4.
|
จอมพล | Chomphon |
5.488
|
34,285
|
6,247.27
|
|
5.
|
จตุจักร | Chatuchak |
7.878
|
21,550
|
2,735.47
|
|
ทั้งหมด |
32.908
|
153,792
|
4,673.39
|
ประชากร[แก้ไขต้นฉบับ]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตจตุจักร[4] |
---|
การคมนาคม[แก้ไขต้นฉบับ]
- ทางสายหลัก
|
- ทางสายรอง
- ทางด่วน
- ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์)
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางน้ำ
- รถไฟฟ้า
- รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม มี 4 สถานี คือ สถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี และสถานีบางเขน
- รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน มี 1 สถานี คือ สถานีกลางบางซื่อ
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มี 4 สถานี คือ สถานีกำแพงเพชร สถานีสวนจตุจักร สถานีพหลโยธิน และสถานีลาดพร้าว
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท มี 8 สถานี คือ สถานีหมอชิต สถานีห้าแยกลาดพร้าว สถานีพหลโยธิน 24 สถานีรัชโยธิน สถานีเสนานิคม สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานีกรมป่าไม้ และสถานีบางบัว
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มี 1 สถานี คือ สถานีลาดพร้าว
รถโดยสารประจำทาง
- สถานีขนส่งสายเหนือ–ตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่นิยมเรียกกันว่า สถานีขนส่งหมอชิตใหม่หรือหมอชิต 2)
แขวงจอมพล หลังคา พียู โฟม แขวงจอมพล หลังคา พียู โฟม PU […]