Category Archives: ถนนนวมินทร์
ถนนนวมินทร์
ถนนนวมินทร์ เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งใน เขตคันนายาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตคันนายาวตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตคลองสามวา มีคลองตาเร่ง คลองลำชะล่า คลองจรเข้บัว (หกขุด) คลองคู้ชุมเห็ด และคลองคู้บอนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสามวาและเขตมีนบุรี มีคลองคู้บอนและคลองบางชันเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบึงกุ่ม มีคลองกุ่ม ถนนเสรีไทยฟากใต้ คลองระหัส คลองลำปลาดุก คลองหนองแขม คลองหลวงวิจิตร คลองบางชวดด้วน และถนนรามอินทราฟากใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ประมาณ พ.ศ. 2386 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบคลองกุ่ม ต่อมามีผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัยในย่านนี้และย่านใกล้เคียงมากขึ้น พื้นที่บางส่วนกลายเป็นที่ทำนาผืนใหญ่[3] ในการทำนาก็จะมีการสร้างแนวดินให้พูนสูงขึ้นจากท้องนาเพื่อกั้นที่นาเป็นส่วน ๆ หรือเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับปลูกข้าว ซึ่งก็คือ “คันนา” มีที่นาอยู่ผืนหนึ่งใกล้กับคลองแสนแสบ กินอาณาเขตตั้งแต่ท้ายหมู่บ้านสุเหร่าแดง (ปัจจุบันคือบริเวณถนนเสรีไทย)[4] ไปสิ้นสุดตรงบริเวณที่เรียกว่า “โรงแดง” เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านหลังหนึ่งที่มุงหลังคาสังกะสีเป็นสนิม มองเห็นเป็นสีแดงแต่ไกล (ปัจจุบันคือบริเวณถนนรามอินทรา) เรียกได้ว่าเป็นนาที่มีคันยาวมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อ “คันนายาว”[5][6]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว[17] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตคันนายาวแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยใช้ถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
คันนายาว | Khan Na Yao |
12.917
|
47,217
|
3,655.42
|
|
2.
|
รามอินทรา | Ram Inthra |
13.063
|
48,306
|
3,697.93
|
|
ทั้งหมด |
25.980
|
95,523
|
3,626.79
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคันนายาว[18] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตคันนายาวมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก
- ถนนรามอินทรา
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350 (รัชดาภิเษก–รามอินทรา)
- ถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตร–นวมินทร์–กาญจนาภิเษก)
- ถนนนวมินทร์
- ถนนเสรีไทย
- ถนนสวนสยาม
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู (สถานีรามอินทรา กม. 6, สถานีคู้บอน, สถานีรามอินทรา กม. 9, สถานีวงแหวนรามอินทรา, สถานีนพรัตน์)
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)
- ถนนคู้บอน
- ถนนปัญญาอินทรา
- ซอยรามอินทรา 44 (หมู่บ้านปัฐวิกรณ์ 2)
- ซอยรามอินทรา 62 (ยังสว่าง)
- ซอยรามอินทรา 77 (มิตรทหาร)
- ซอยคู้บอน 6 (คู้บอน 3)
- ซอยคู้บอน 27 (สยามธรณี)
- ซอยนวมินทร์ 163 (อมรวิวัฒน์)
ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน ใช้สัญจร
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สวนสยาม
- นิคมอุตสาหกรรมบางชัน (ส่วนเขตคันนายาว)
- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
- วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดบางชัน)
- วัดคลองครุ
- เทคโนโลยีดุสิต รามอินทรา
- โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
- โรงเรียนจินดาบำรุง
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
- แฟชั่นไอส์แลนด์
- สนามกอล์ฟนวธานี
- สนามกอล์ฟ ปัญญาอินทรากอล์ฟคลับ