ทรายกองดินใต้ หลังคา พียู โฟม ทรายกองดินใต้ หลังคา พียู […]
Category Archives: เขตคลองสามวา
เขตคลองสามวา
เขตคลองสามวา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีคลองสามวาผ่านกลางพื้นที่และมีคลองซอยเชื่อมระหว่างคลองหลักเป็นก้างปลา ประชาชนดั้งเดิมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม ปัจจุบันเขตคลองสามวาเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตคลองสามวาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีคลองเก้า คลองแบนชะโด และคลองลัดตาเตี้ยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตมีนบุรี มีคลองแสนแสบ คลองลำบึงไผ่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) คลองสามวา ลำรางสามวา คลองเจ๊ก ลำรางโต๊ะสุข ถนนหทัยราษฎร์ ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ลำรางคูคต และคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคันนายาว เขตบางเขน และเขตสายไหม มีคลองบางชัน คลองคู้บอน คลองคู้ชุมเห็ด และคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
บริเวณเขตคลองสามวาในปัจจุบันเดิมอยู่ในเขตการปกครองของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกท้องที่บริเวณทุ่งแสนแสบทางทิศตะวันออกของพระนครขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานชื่อว่า “เมืองมีนบุรี“[3][4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นอำเภอที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) ใหม่แห่งนี้ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2474 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ทางการจึงได้ยุบจังหวัดมีนบุรีเข้ากับจังหวัดพระนคร[3] อำเภอเมืองถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมีนบุรี
ใน พ.ศ. 2505 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้โดยแบ่งพื้นที่จากตำบลทรายกองดิน[5] โดยในปีถัดมาก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[6] ต่อมาใน พ.ศ. 2515 มีการปรับปรุงการบริหารราชการเมืองหลวงใหม่ อำเภอมีนบุรีจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร[7] แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 แขวง
ต่อมาเขตมีนบุรีมีประชากรหนาแน่นและมีความเจริญเพิ่มขึ้น ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศแยกพื้นที่ 5 แขวงทางด้านเหนือของเขตมีนบุรีมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และได้ใช้ชื่อเขตใหม่นี้ว่า เขตคลองสามวา[8] เพื่อคงชื่อในประวัติศาสตร์ไว้ โดยสำนักงานเขตคลองสามวาได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[8] พร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตหลักสี่[9] เขตสายไหม[10] เขตคันนายาว[10] เขตสะพานสูง[10] และเขตวังทองหลาง[11]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตคลองสามวาแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
สามวาตะวันตก | Sam Wa Tawan Tok |
24.249
|
61,529 | 2,537.38 | |
2.
|
สามวาตะวันออก | Sam Wa Tawan Ok |
40.574
|
26,801 | 660.55 | |
3.
|
บางชัน | Bang Chan |
18.644
|
90,140 | 4,834.80 | |
4.
|
ทรายกองดิน | Sai Kong Din |
11.396
|
13,307 | 1,167.69 | |
5.
|
ทรายกองดินใต้ | Sai Kong Din Tai |
15.823
|
17,343 | 1,096.06 | |
ทั้งหมด |
110.686
|
209,120 | 1,889.31 |
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคลองสามวา[12] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตคลองสามวามีถนนสายหลักซึ่งเชื่อมการคมนาคมเขตนี้เข้ากับเขตใกล้เคียง ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันออก) ตั้งแต่คลองคู้บอนจนถึงคลองบึงชุมเห็ด และ ตั้งแต่คลองพระยาสุเรนทร์จนถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนนิมิตใหม่ ตั้งแต่ซอยนิมิตรใหม่ 16 จนถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนหทัยราษฎร์ ตั่งแต่ซอยหทัยราษฎร์ 29 จนถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนพระยาสุเรนทร์ (รามอินทรา 109) ตั้งแต่คลองพระยาสุเรนทร์ 1 จนถึงซอยพระยาสุเรนทร์ 50
- ถนนคู้บอน ตั้งแต่คลองคู้บอนจนถึงแยกพระยาสุเรนทร์
- ถนนเลียบคลองสอง ตั้งแต่แยกพระยาสุเรนทร์จนถึงแยกหทัยราษฎร์
- ถนนปัญญาอินทรา ตั้งแต่คลองบางชันจนถึงคลองสามวาตะวันตก
- ถนนไมตรีจิต ตั้งแต่แยกไมตรีจิตจนถึงคลองเก้า
- ถนนประชาร่วมใจ ตั้งแต่คลองพระราชดำริ 1 จนถึงคลองลัดตาเตี้ย
- ทางพิเศษฉลองรัช ตั้งแต่คลองพระยาสุเรนทร์จนถึงทางแยกต่างระดับจตุรโชติ
ส่วนถนนสายรองและถนนที่ตัดผ่านเฉพาะแต่ละท้องถิ่น ได้แก่
|
|
ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน