Category Archives: ตำบลมิตรภาพ

ตำบลมิตรภาพ

ตำบลมิตรภาพ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by keyword name in category.

ตำบลมิตรภาพ เป็นตำบลหนึ่งใน6ของอำเภอมวกเหล็ก

มวกเหล็ก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสระบุรี มีภูเขา แม่น้ำ ลำธาร ที่เป็นธรรมชาติมาก แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแก่งคอย ด้วยภูเขา และต้นไม้ ลำธาร ส่งผลให้คนอย่างน้อย รักธรรมชาติ และมีจิตใจที่สงบ เห็นความสวยงามของธรรมชาติ และมีความต้องการในเสรีภาพ

ประวัติศาสตร์[แก้]

ไฟล์:มวกเหล็กในอดีต บริเวณจุดตัดในอดีต.jpg

มวกเหล็กในอดีตที่ริมทางรถไฟ

มวกเหล็กในตอนนี้ที่สถานีรถไฟมวกเหล็ก

ไฟล์:วงเวียนหอนาฬิกา มวกเหล็ก.jpg

หอนาฬิกาและตลาดโต้รุ่ง

ในอดีต มวกเหล็กเป็นส่วนหนึ่งของแก่งคอย กระทรวงมหาดไทยเห็นควรในการแบ่งเขตการปกครองของแก่งคอย ออกมาเป็นอำเภอมวกเหล็ก โดยรวมพื้นที่ที่ตำบลมวกเหล็ก ตำบลคำพราน และตำบลแสลง มวกเหล็กมีอยู่สองความคิด ความคิดแรกมวกเหล็กเป็นชื่อของเถาไม้ชนิดหนึ่งที่ ขึ้นอยู่ทั่วไปริมลำธารแห่งนี้ จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า มวกเหล็ก ความคิดหนึ่งเล่าว่าเคยพบหมวกเหล็กของนักรบโบราณที่ลำธารแห่งมวกเหล็กนี้ จึงเรียกว่า บ้านหมวกเหล็ก ต่อมาคนที่นี่เรียกเป็น มวกเหล็ก[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

 

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอมวกเหล็กแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 80 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จำนวนหมู่บ้าน
1. มวกเหล็ก Muak Lek 13 หมู่บ้าน
2. มิตรภาพ Mittraphap 10 หมู่บ้าน
3. หนองย่างเสือ Nong Yang Suea 14 หมู่บ้าน
4. ลำสมพุง Lam Somphung 10 หมู่บ้าน
5. ลำพญากลาง Lam Phaya Klang 18 หมู่บ้าน
6. ซับสนุ่น Sap Sanun 15 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอมวกเหล็กประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลมวกเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลมวกเหล็กและบางส่วนของตำบลมิตรภาพ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมวกเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมวกเหล็ก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลมวกเหล็ก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมิตรภาพ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลมวกเหล็ก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างเสือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองย่างเสือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำสมพุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำสมพุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญากลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำพญากลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลซับสนุ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับสนุ่นทั้งตำบล

การคมนาคม[แก้]

มวกเหล็กมีภูเขา ลำธาร ต้นไม้มากมาย ความสวยงามของเส้นทางถือว่าอยู่ในระดับดี ส่วนที่น่าสนใจได้แก่

  • อุโมงค์ต้นไม้ บนเส้นทางมวกเหล็ก-วังม่วง เส้นทางสาย 2089 พาดผ่านภูเขามากมาย หากผ่านภูเขา ที่มีต้นไม้อยู่มาก มันมากจนโน้มเข้ามาล้อมรอบถนน จนกลายเป็นอุโมงค์ต้นไม้อันสวยงาม ร่มรื่น หากแต่เราไม่ตัดมัน
  • เนินพิศวง บนเส้นทางสายมวกเหล็ก-ซับน้อยเหนือ มีอยู่ที่หนึ่ง หากจอดรถเข้าเกียร์ว่าง จะเกิดภาพลวงตามองเห็นรถเคลื่อนที่จากที่ต่ำไปยังที่สูง เราสามารถทดสอบได้ที่จุดที่มีป้ายบอก[2]
  • ถนนบนภูเขา เมื่อถนนพาดบนภูเขา เราจะมองเห็นการเกษตร ต้นไม้ ท้องฟ้าที่เป็นหนึ่งเดียวกับเรา

เส้นทางในมวกเหล็กนั้นมีความหลากหลาย สะดวกสบาย แม้จะติดขัดภายในตลาดมวกเหล็กบ้าง เนื่องจากไม่มีการวางแผนการคมนาคมที่หลากหลาย เช่นรถราง(Tram) ทางสำหรับจักรยานแยกจากรถยนต์ หากต้องการทำ ควรดูตัวอย่างของ อัมสเตอร์ดัม ที่มีทางจักรยานที่สวยงาม และต้นไม้ที่ร่มรื่น การที่จะมีทางจักรยานนั้น จะส่งผลดีกับผู้ค้ารายเล็ก เพราะเราสามารถจะจอดจักรยานตรงไหนก็ได้ การขี่จักรยานจะทำให้เรารู้สึกเป็นอิสระ ได้ออกกำลังกาย ชื่นชมมวกเหล็กในตอนที่ปั่นและลดปริมาณรถยนต์ด้วย ทำให้อากาศสดชื่น อีกครั้ง เราจะรักมวกเหล็กมากขึ้นถ้าเราปั่นทุกวัน ภายในตลาดมวกเหล็ก ควรลดปริมาณลดยนต์ด้วยการเปลี่ยนให้เป็นถนนคนเดิน และสร้างทางจักรยาน ปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาและอากาศสดชื่น หากเราต้องการให้เมืองของเราเป็นแบบนี้ จะส่งผลให้เกิดวัฒนธรรม วิถีชีวิต และความสะดวกสบายของการใช้ชีวิต

ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]

เส้นทางรถไฟที่ผ่านมวกเหล็ก มีถึง 3 สถานี นั่นคือ

1. สถานีรถไฟมวกเหล็ก(ซึ่งเป็นสถานีหลัก)
2. สถานีรถไฟผาเสด็จ
3. สถานีรถไฟหินลับ

ทางรถยนต์[แก้]

มีทางหลวงหลักคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)

มีและมีถนนเส้นหลัก 10 สาย ได้แก่

1. สายมวกเหล็ก–วังม่วง
2. สายมวกเหล็ก–ซับน้อยเหนือ
3. สายซับประดู่–บ้านท่าเสา
4. สายแก่งคอย–วังม่วง
5. สายเขาไม้เกวียน–หลังสถานีรถไฟ
6. สายหมู่ 3 – บ้านมอมะเกลือ
7. สายซับตาเพ็ง
8. สายบ้านปากคลอง–บ้านดงน้ำฉ่า
9. สายหมู่ 4 – หมู่ 7
10. สายสถานีอนามัย–บ้านหินลับ

รถประจำทาง บขส.[แก้]

รถประจำทาง จำนวน 3 สาย ได้แก่

  • กรุงเทพ(อนุสาวรีย์ฯ)-มวกเหล็ก
  • สายมวกเหล็ก–วังม่วง
  • สายสระบุรี–มวกเหล็ก–น้ำตกเจ็ดสาวน้อย

ท่องเที่ยว[แก้]

ไฟล์:น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เมื่อน้ำเขียวขจี.jpg

น้ำตกเจ็ดสาวน้อย กับน้ำเขียวขจี

ที่นี่ ส่วนใหญ่มีอากาศที่ดี มีป่าไม้ที่ถือว่ามีอยู่น้อยนิด ส่วนที่น่าสนใจได้แก่

  • ไร่องุ่น ตั้งอยู่ริมสองข้างทาง เส้นทางมวกเหล็ก-วังม่วง
  • น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เที่ยวเย็นฉ่ำกับน้ำตกดังเมืองมวกเหล็กที่มีถึงเจ็ดชั้น ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
  • สวนรุกขชาติมวกเหล็กและน้ำตกมวกเหล็ก แหล่งพันธุ์ไม้ และน้ำตกที่ใกล้ที่สุดของมวกเหล็ก
  • ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ที่แห่งนี้ คือจุดเริ่มต้นการเลี้ยงโคนมของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ได้ทรงประกอบพิธีเปิดฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์ค อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2505 จึงนับได้ว่าเป็นวันที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 รัฐบาลไทยได้รับโอนกิจการฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์ค จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีชื่อว่า “องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)” มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 160 ถนนมิตรภาพ อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนมวกเหล็กวิทยาเพื่อดำเนินบทบาทในการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมและพัฒนาอุตสาหกรรมนมต่อไป รัฐบาลไทยได้กำหนดให้วันที่ 17 มกราคม ของทุกปีเป็นวันโคนมแห่งชาติ
    [3] เป็นหนึ่งในฟาร์มโคนมที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นสำนักงานใหญ่ของ อ.ส.ค.[4]

ทีอ.ส.ค เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งแรกๆของประเทศไทย มีกิจกรรมเช่น ปั่นเรือปั่น ฝึกรีดนมวัวโดยการสอนของเจ้าหน้าที่ ป้อนนมลูกวัว โชว์จับวัวด้วยเชือก และมีการทัวร์ทั่วฟาร์ม ที่มีฉากหลังเป็นภูเขา และท้องฟ้า บรรยากาศที่สดชื่น ในอ.ส.ค.มีลานหญ้ากว้างขนาดใหญ่ มีจุดจอดเฮลิคอปเตอร์สำหรับการเดินทางมาเยือนด้วยเฮลิคอปเตอร์ บริเวณนี้เป็นที่นิยมถ่ายรูปกันเป็นอย่างมาก การเดินทางมาที่อ.ส.ค. สามารถเดินทางมาได้ง่ายๆ อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หากมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถเลี้ยวซ้ายเข้าภายในฟาร์มได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากเดินทางมาจากฝั่งกรุงเทพเมื่อมาถึงรร.มวกเหล็กวิทยาให้เตรียมยูเทิร์นในมวกเหล็ก และลอดใต้สะพาน เดินทางมาสู่ถนนมิตรภาพอีกฝั่ง และตรงไป เลี้ยวซ้ายเข้าฟาร์มได้เลยเช่นกัน

ไฟล์:ทุ่งหญ้าเขียวขจีที่อ.ส.ค..jpg

ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ กับบรรยากาศที่สดชื่น ที่องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ริมถนนมิตรภาพ

เทศกาล[แก้]

  • เทศกาลศาลเจ้าพ่อมวกเหล็ก เป็นการแห่เฉลิมฉลองแด่ศาลเจ้าพ่อมวกเหล็กของมวกเหล็ก ในยามค่ำคืนจะเป็นงานเทศกาลออกร้านของกิน เครื่องเล่น และมีการแสดงเช่น งิ้ว ลิเก มีขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาของทุกปี
  • เทศกาลวันโคนมแห่งชาติ เป็นการเฉลิมฉลองการเกิดขึ้นของโคนมไทย จัดขึ้นในช่วงครึ่งเดือนมกราคมของทุกปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเปิดงาน ภายในเทศกาลจะมีเครื่องเล่น ของกิน และการออกร้านของเจ้าของผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แต่ในช่วงหลัง มักมีโชว์รูมรถที่แสวงหาเพียงกำไรโดยไม่เกี่ยวข้องกับเทศกาลมาอยู่ด้วย
  • เทศกาลทุ่งดอกทานตะวัน เทศกาลปลูกทุ่งทานตะวันสีเหลืองสุดสายตา กับฉากหลังเป็นภูเขาปลูกขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ของทุกปี
  • เทศกาลถือศีลกินผัก มวกเหล็กมีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่ และเรามีศาลเจ้าพ่อมวกเหล็ก เมื่อถึงเทศกาลกินเจ จะมีการจัดซุ้มอาหารตามจุดต่างๆทั่วเมือง จัดขึ้นในทุกวันตรุษจีน เพื่อความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตาแก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทุกชนิด จนถึงธรรมชาติ

วัฒนธรรม[แก้]

เรามีชีวิตที่เรียบง่าย ใกล้ชิดต้นไม้ ลำธาร ของกิน ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นในที่นี่ และสงบ

ตลาด[แก้]

ย่านตลาดมวกเหล็กกับบรรยากาศยามเย็น

มวกเหล็กเป็นที่เล็กๆแห่งหนึ่งที่น่าอยู่ในประเทศไทย ความสะอาดได้ระดับดี เพียงขาดต้นไม้ในเขตเมือง รวมทั้งทางที่เอื้อเฟื้อกับจักรยานและคนเดิน ตลาดผักผลไม้ ของกิน เครื่องแต่งกาย ของมือสองมีหลายแห่งดังนี้

  • ย่านตลาดมวกเหล็ก เป็นบริเวณก่อนถึงทางรถไฟ หากมาจากทิศใต้ บริเวณนี้เป็นตลาดที่มีครบทุกอย่าง ทั้งผักสดในตอนเช้า ร้านขายยา ร้านขายอุปกรณ์ต่างๆ อุปกรณ์การเกษตร ร้านกาแฟ ร้านสเต๊ก โต้รุ่ง มีร้านช่างตัดผมที่เปิดมาอย่างยาวนานมากมาย อาคารไม้ที่ดั้งเดิม และสวยงาม
  • ย่านตลาดสีทองคำ เป็นย่านที่ตั้งของเทศบาลตำบลมวกเหล็ก มีร้านเช่นเดียวกับย่านตลาดมวกเหล็ก
  • ย่านริมทางรถไฟ เป็นเพียงถนนสายสั้นๆริมทางรถไฟ เป็นย่านที่มี[อาคารไม้]]แบบโบราณที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ที่สร้างโดยการรถไฟ เป็นบรรยากาศที่คลาสสิกอย่างมาก จะมีร้านอยู่น้อยนิด เช่น ร้านขนมเบเกอร์รี่ ร้านตัดผม ร้านขายเสื้อผ้า ร้านตัดเย็บ
  • ย่านโต้รุ่ง มวกเหล็กมีโต้รุ่งอยู่ 2 แห่ง แห่งแรกคือตลาดโต้รุ่งหน้าน้ำตก และแห่งที่สองคือตลาดโต้รุ่งริมทางรถไฟ
  • ตลาดนัดวันเสาร์(ช่วงเช้า) ในช่วงเช้าของวันเสาร์ เลยไปรษณีย์มวกเหล็กเพียงน้อยนิด จะพบกับถนนคนเดินที่ถอดยาว เต็มไปด้วยร้านค้ามากมาย เป็นถนนคนเดินแห่งแรกของมวกเหล็ก และเก่าแก่ ร้านค้าในยุคก่อนยังคงอยู่ ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ชีวิต รวมตัวอยู่ที่นี่ ผักอร่อยๆ มีให้เลือกมากมาย มีแม่ค้าพ่อค้า ที่ค้าขายกันอย่างสนุกสนานมาตั้งแต่สิบกว่าปีที่แล้ว
  • ถนนคนเดินมวกเหล็ก(ช่วงเย็น) ก่อนพระอาทิตย์จะตกดิน พ่อค้าแม่ค้าจะเริ่มตั้งร้านของตัวเอง ริมศูนย์เพาะพันธ์ไม้มวกเหล็ก ถนนคนเดินแห่งนี้ตั้งอยู่ริมไม้สูง บรรกาศร่มรื่นกับพระอาทิตย์ตก ร้านค้าของกินอร่อยๆ มากมาย ของใช้ที่มาจากช่างฝีมือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ อาหารอร่อย ขนมต่างๆ สามารถซื้อได้ที่นี่
  • ตลาดนัดสี่แยกต้นแค ตั้งอยู่ที่สี่แยกไฟแดงแห่งเดียวของมวกเหล็ก ซึ่งเป็นจุดตัดของถนนสายมวกเหล็กวังม่วงและมวกเหล็ก-ซับน้อยเหนือ ที่นี่มีร้านของกิน วัตถุดิบทำอาหาร ของใช้ในประจำวัน อยู่มากมาย ตลาดเริ่มขึ้นช่วงเย็นทุกวันจันทร์ พฤหัส ศุกร์ และอาทิตย์
  • ตลาดนัดวันพุธ ชื่อนั้นบอกอยู่แล้วว่ามีในวันพุธ ในอดีตเคยอยู่ที่ริมทางรถไฟ แต่การรถไฟต้องการแสวงหากำไรจากพื้นที่นี้ สร้างเป็นร้านค้าใหม่ พ่อค้าแม่ค้าจึงย้ายมาเช่าพื้นที่วัดมวกเหล็กนอกที่ตั้งอยู่ใกล้ ขอใช้ที่เป็นตลาดแทน ตลาดแห่งนี้ตั้งอยู่ในวัด เช่นเดียวกับตลาดนัดสี่แยกต้นแคร์ที่มีร้านค้าของกิน และวัตถุดิบทำอาหาร แต่จะมีร้านน้อยกว่าเล็กน้อย เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด แต่จะได้เห็นความสวยงามของโบสถ์คู่กับตลาดนัดยามเย็น

ของกินท้องถิ่น[แก้]

  • กะหรี่ปั๊บ เป็นขนมแบบตะวันตกผสมกับอินเดีย คาดว่าท้าวทองกีบม้าคิดค้นขึ้น เป็นขนมที่ทอดกรอบสอดไส้หลากหลายเช่น ไส้สัปปะรด ไส้พริกเผา ไส้เห็ดหอม ไส้เผือก ไส้องุ่นที่เป็นการผสมผสานกับองุ่นที่ปลูกมากในมวกเหล็ก รวมทั้งยังมีอีกหลากหลายไส้ กะหรี่ปั๊ปของมวกเหล็กอร่อยและถูก เป็นขนมที่ถ้าผ่านมวกเหล็กจะต้องซื้อกลับไป
  • องุ่น ภูมิอากาศที่เหมาะสมในหน้าหนาวทำให้มีหลายคนปลูกองุ่นกัน รวมทั้งเพื่อการแวะชมสวน เกิดเป็นองุ่นคุณภาพจากมวกเหล็ก

การกีฬา[แก้]

ชาวมวกเหล็กมีสถานที่สำหรับเล่นกีฬา พักผ่อนได้หลายแห่ง เช่น

  • ฟิตเนสเทศบาลตำบลมวกเหล็ก
  • สนามฟุตซอลมวกเหล็ก
  • สนามบอลโรงพักมวกเหล็ก

รวมทั้งลานกีฬาและสนามเด็กเล่นอีกหลายแห่ง

ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ[แก้]

ลานจอดรถที่ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ มวกเหล็ก

บรรยากาศฟ้าหลังฝน

ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติมวกเหล็กตั้งอยู่บริเวณด้านซ้ายมือของถนนมิตรภาพ ก่อนถึงเทพประทานปาร์ควิว (กรณีเดินทางจากมวกเหล็ก-กรุงเทพฯ) ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2543 ดำเนินการก่อสร้างบนพื้นที่กว่า 600 ไร่ ภายใต้งบประมาณประจำปี 2552 จำนวน 140 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2553 ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเพิ่มเติม ได้แก่ งบประมาณไทยเข้มแข็ง จำนวน 76 ประกอบด้วยการก่อสร้างอาคารดังนี้

  • อาคารที่พักนักกีฬา 5 ชั้น อาคารกีฬาในร่ม (กีฬามวย)
  • อาคารกีฬาคนพิการ
  • สระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน 50 เมตรพร้อมหลังคาและสระกระโดด[5] ตั้งอยู่ ที่ 329 หมู่ 4 ถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีทัศนียภาพที่สวยงามท่ามกลางบรรยากาศที่โอบล้อมด้วยภูเขา มีโอโซนบริสุทธิ์เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย และตั้งอยูในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสระบุรีเหมาะสำหรับการพักผ่อนและเล่นกีฬาและให้เช่าสถานที่จัดกิจกรรม ประชุม สัมมนา ฯลฯ เป็นศูนย์กีฬาเพื่อสุขภาพ และห้องพักราคาประหยัดพร้อมสถานที่พักผ่อน ออกกำลังกายท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม[6]

มวกเหล็กคัพ[แก้]

มวกเหล็กมีกิจกรรมแข่งขันกีฬา มวกเหล็กร่วมใจต้านภัยยาเสพติด ประจำทุกปี เริ่มแข่งในครั้งแรกในปี 2543 เราต้องการส่งเสริมให้คนที่นี่ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง ไม่ไปยุ่งกับสิ่งมอมเมา ยาเสพติด และเป็นการดูแลสุขภาพให้กับเรา ที่งานนี้มีการแข่งขัน ฟุตบอลชายและหญิง แบ่งประเภทเป็นกลุ่มบริหาร กลุ่มสตรีและแม่บ้าน และกลุ่มประชาชน ซึ่งทุกตำบลจะคัดเลือกส่งทีมเข้าแข่งขันประเภทละ 1 ทีม การแข่งขันเป็นระบบเหย้าเยือน หมุนเวียนกันไป พิธีเปิด-ปิดและนัดชิงชนะเลิศใช้สนามกีฬาของมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิกเป็นสนามกลางในกลางแข่งขัน[7]

การศึกษา[แก้]

การศึกษาที่มวกเหล็กมีข้อดีอยู่อย่างคือได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทำให้สงบ สามารถหาความรู้ได้อย่างสะดวกสบาย แต่บางโรงเรียนยังขาดเรื่องให้เสรีภาพกับนักเรียน

ไฟล์:Air view Asia-Pacific International University Muaklek.jpg

มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก มหาลัยแห่งความสงบร่มเย็น

โรงเรียนจากรัฐบาล[แก้]

การศึกษาโดยเอกชน[แก้]

 

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ อำเภอมวกเหล็ก ได้โดยค้นหาจาก
โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย :
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-en.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย
Call Now Button