Category Archives: ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์

ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์

ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ เป็นตำบลหนึ่งใน 7 ตำบล ของอำเภอแหลมสิงห์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าใหม่และอำเภอเมืองจันทบุรี

LINE: @MKMETALSHEET ; 087-808-7771
LINE: @MKMETALSHEET ; 087-808-7771
LINE: @MKMETALSHEET ; 087-808-7771
LINE: @MKMETALSHEET ; 087-808-7771
LINE: @MKMETALSHEET ; 087-808-7771
LINE: @MKMETALSHEET ; 087-808-7771
LINE: @MKMETALSHEET ; 087-808-7771

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอแหลมสิงห์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ที่มาของชื่อ[แก้]

ที่มาของชื่อ “แหลมสิงห์” มาจากหินธรรมชาติที่มีรูปลักษณะคล้ายกับสิงโตหมอบ 2 ตัวที่ปากอ่าวแหลมสิงห์ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงตัวเพราะถูกทำลายไปในเหตุวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112[1]

ตำนานสิงโตที่แหลมสิงห์[แก้]

คำโบราณปรัมปราเล่าว่าเมื่อก่อนนี้ไม่มีสิงโตคู่นี้ แต่กล่าวกันว่าบนเขาแหลมสิงห์มีสิงโตจริงๆ อยู่คู่หนึ่ง (ซึ่งอาจจะนำเข้ามาจากอินเดีย หรือ แอฟริกา) สิงโตตัวผู้ตัวเมียคู่นี้ไปไหนด้วยกันเสมอและลงมาอาบน้ำทะเลด้วยกันทุกวัน ต่อมาฝรั่งเศสพวกหนึ่งคอยดักทำร้ายสิงโตคู่นี้ โดยใช้วัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง สิงโตตัวหนึ่งถึงแก่ความตาย อีกตัวหนึ่งวิ่งหนีลงทะเลทัน ตัวที่หนีลงทะเลไปนั้น เมื่อตายในน้ำแล้วก็มากลายรูปเป็นสิงโตศิลายืนหยัดอยู่ริมทะเล ส่วนตัวที่ถูกยิงตายอยู่ที่ริมฝั่งทะเล ส่วนตัวที่ถูกยิงตายอยู่ที่ริมฝั่งทะเล เหลือเพียงแต่ซากหินปรักหักพังยืนข้างศิลาตัวใหญ่ พอจะจับสังเกตเป็นเค้าโครงได้ มีแววเป็นรูปสิงโตได้บ้าง (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: ความเป็นมาของอำเภอสำคัญในประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. หน้า 58-59)

นอกจากนี้ยังมีอีกตำนานอีกสำนวนหนึ่งเล่าว่า แหลมสิงห์เป็นชื่อของภูเขาลูกหนึ่งที่มีบางส่วนยื่นออกไปในทะเลเป็นแหลม ตรงปลายแหลมมีหินซ้อนกันเป็นกลุ่มก้อน เมื่อมองจากทะเลจะเห็นคล้ายสิงโตยืนอยู่ 2 ตัว ชาวบ้านจึงเรียกแหลมนี้ว่า แหลมสิงห์ ในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองจันทบุรี ได้ใช้หินก้อนหนึ่งที่ดูคล้ายสิงโตนั้นเป็นเป้าทดลองปืนจนหินส่วนนั้นแตกสลาย ที่เหลืออีกก้อนหนึ่งนั้นคือส่วนที่คล้ายหัวสิงโตก็หักหลุดตกน้ำไป (สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์, 2542. หน้า 7241)

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอแหลมสิงห์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 65 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[2]
1. ปากน้ำแหลมสิงห์ Pak Nam Laem Sing
16
8,644
2. เกาะเปริด [เกาะ-เปฺริด] Ko Proet
7
3,030
3. หนองชิ่ม Nong Chim
10
5,092
4. พลิ้ว Phlio
12
5,461
5. คลองน้ำเค็ม Khlong Nam Khem
6
1,533
6. บางสระเก้า Bang Sa Kao
5
2,134
7. บางกะไชย Bang Kachai
9
3,784

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอแหลมสิงห์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลพลิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลิ้วและตำบลคลองน้ำเค็มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปริด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะเปริดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองชิ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองชิ่มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางสระเก้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสระเก้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกะไชยทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

ชายหาดแหลมสิงห์
บรรยากาศที่ร่มรื่นของตัวอำเภอแหลมสิงห์

คุกขี้ไก่[แก้]

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) อยู่บริเวณแหลมสิงห์ ก่อนถึงท่าเทียบเรือ 1 กิโลเมตร เมื่อฝรั่งเศสได้เข้ายึดจันทบุรีในกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ระหว่างนั้นฝรั่งเศสได้ยกกองทหารเข้าสู่เมืองจันทบุรีประมาณ 600 คน แยกกันอยู่สองแห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ที่เมืองจันทบุรีบริเวณที่เป็นค่ายทหารในปัจจุบัน อีกแห่งตั้งอยู่ที่ปากน้ำแหลมสิงห์ ฝรั่งเศสได้สร้างคุกขี้ไก่เพื่อใช้กักขังคนไทยที่ต่อต้านฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นหอสี่เหลี่ยม หลังคาโปร่ง เล่ากันว่าเป็นคุกที่ทรมานมาก เพราะชั้นบนใช้เป็นที่เลี้ยงไก่ ซึ่งจะถ่ายมูลราดศีรษะนักโทษที่ถูกคุมขัง

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว[แก้]

ตั้งอยู่ในเขตเขาสระบาป อำเภอแหลมสิงห์ ระยะทาง 17 กิโลเมตรจากตัวเมือง มีเนื้อที่ทั้งหมด 84,063 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น มี 3 ชั้น จากทางขึ้นไป 200 เมตร มีอลงกรณ์เจดีย์ทางขวามือ เป็นเจดีย์ศิลาแลง รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาจันทบุรีเป็นแม่กองสร้างเมื่อ พ.ศ. 2419 นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้ ๆ กัน ยังมีพีระมิดอีกแห่งหนึ่ง ชื่อ “ปิรามิดพระนางเรือล่ม” หรือ “สถูปพระนางเรือล่ม” เป็นที่บรรจุพระอังคารของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พระนางเรือล่ม) ซึ่งเคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วเมื่อ พ.ศ. 2417 และที่อุทยานแห่งชาตินี้ยังมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อีกมากมาย

โอเอซีส ซีเวิลด์[แก้]

ฟาร์มเลี้ยงโลมาและสถานที่จัดแสดงโลมาที่มีชื่อเสียงของอำเภอแหลมสิงห์และเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากคนทั่วประเทศ

Call Now Button