Category Archives: มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2
มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2
มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 Ramkhamhaeng University 2 is located in เขตประเวศ Khet Prawet.
เขตประเวศ Khet Prawet is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
![]() |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
|
มหาวิทยาลัยรามคำแหง | |
---|---|
Ramkhamhaeng University | |
![]() |
|
ชื่อย่อ | ม.ร. / RU |
คติพจน์ | รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ |
สถาปนา | พ.ศ. 2514 |
ประเภท | มหาวิทยาลัยรัฐ |
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน) |
อุปนายกสภาฯ | สงวน ตียะไพบูลย์สิน (ทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย) (7 มีนาคม พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน) |
ที่ตั้ง | มหาวิทยาลัยรามคำแหง เลขที่ 2086 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 |
สีประจำสถาบัน | ██ สีน้ำเงิน ██ สีทอง |
เครือข่าย | ASAIHL |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
![]() |
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Ramkhamhaeng University; ชื่อย่อ: ม.ร. – RU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน อันเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และมีชื่อเสียงในด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์อย่างมาก
เนื้อหา
- 1ประวัติ
- 2สัญลักษณ์ของรามคำแหง
- 3เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- 4ที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงและวิทยาเขต
- 5พื้นที่การศึกษา
- 6วิชาการ
- 7หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัย
- 8พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- 9รายนามอธิการบดีและรักษาราชการแทนอธิการบดี
- 10รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย
- 11กีฬาศาสตร์สัมพันธ์
- 12กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
- 13รายนามบุคคลที่ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- 14ศิษย์สร้างชื่อเสียงมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- 15ศิษย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีชื่อเสียงด้านวงการบันเทิง
- 16การจัดอันดับมหาวิทยาลัย
- 17อ้างอิง
- 18ดูเพิ่ม
- 19แหล่งข้อมูลอื่น
ประวัติ[แก้]
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา[1] กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือกนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 2514 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขการขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม
การตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2512 คือ นายประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย โดยในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชื่อมหาวิทยาลัย และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยตั้งคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมีพลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งกำหนดชื่อมหาวิทยาลัยในร่างพระราชบัญญัตินั้นว่า “ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. …” โดยนายแคล้ว นรประติ ส.ส.จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้เสนอให้ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. … เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514
ระยะแรก คณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่แสดงสินค้านานาชาติ ที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นที่ตั้งชั่วคราวจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้อนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งถาวร และได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่นๆ ในบางรายวิชา
สัญลักษณ์ของรามคำแหง[แก้]
เอ็มเค เมทัลชีท MK Metalsheet
เขตประเวศ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์ชุมชนชานเมือง แหล่งงานและการบริการเพื่อรองรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตประเวศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตลาดกระบังและอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองแม่จันทร์ คลองตาพุก คลองขันแตก คลองสิงห์โต คลองปากน้ำ และคลองสลุดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) และเขตบางนา มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองต้นตาล คลองปลัดเปรียง คลองหนองตาดำ คลองสาหร่าย และคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางนา เขตพระโขนง และเขตสวนหลวง มีคลองเคล็ด คลองตาสาด (คลองคู้) คลองหนองบอน คลองประเวศบุรีรมย์ ลำรางหลังหมู่บ้านเอื้อสุข และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
เขตประเวศเดิมมีฐานะเป็น ตำบลประเวศ เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนครในปี พ.ศ. 2470[2] เมื่อเวลาผ่านไป ท้องที่อำเภอพระโขนงมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2506 ทางราชการจึงได้ตั้งสุขาภิบาลประเวศขึ้นครอบคลุมพื้นที่ตำบลประเวศ ตำบลสวนหลวง ตำบลดอกไม้ ตำบลหนองบอนทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลบางจากและตำบลบางนา[3] และในปี พ.ศ. 2507 พื้นที่ส่วนใหญ่ก็ได้ถูกโอนไปขึ้นกับเทศบาลนครกรุงเทพ (ซึ่งขยายเขตออกมาเป็นครั้งที่ 3) เหลือเพียงตำบลประเวศและตำบลดอกไม้ที่ยังคงอยู่ในเขตสุขาภิบาล[4]
ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[5] และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[6] ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลประเวศจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงประเวศ เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น รวมทั้งพื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 (ประเวศ) ขึ้นดูแลแขวงประเวศ แขวงหนองบอน แขวงดอกไม้ และแขวงสวนหลวง (ต่อมาแขวงสวนหลวงโอนไปอยู่ในการดูแลของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3) และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็น เขตประเวศ[7] แบ่งออกเป็น 4 แขวง ซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วยและคงฐานะเป็นสำนักงานเขตประเวศ สาขาสวนหลวง[8] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปเป็นเขตสวนหลวง[9]
ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองของเขตประเวศใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยรวมพื้นที่แขวงสะพานสูง (เขตบึงกุ่ม) และหมู่ที่ 7-12 แขวงประเวศ (พื้นที่เขตประเวศทางด้านเหนือของถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) ไปจัดตั้งเป็นเขตสะพานสูง[10]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตประเวศมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ประเวศ | Prawet |
22.81
|
86,495
|
35,484
|
3,791.97
|
หนองบอน | Nong Bon |
14.51
|
42,080
|
23,496
|
2,900.06
|
ดอกไม้ | Dokmai |
15.18
|
49,715
|
28,608
|
3,275.03
|
ทั้งหมด |
52.500
|
178,290
|
87,588
|
3,396.00
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตประเวศ[11] |
---|
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
- 4 กันยายน พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ศูนย์การค้า ซีคอนสแควร์ บนเนื้อที่ 77 ไร่ ริมถนนศรีนครินทร์
การคมนาคม[แก้]
ทางบก[แก้]
ถนนสายหลัก ได้แก่
ถนนสายรองและทางลัดสำคัญ ได้แก่
|
|
ทางรถไฟ[แก้]
- ทางรถไฟสายตะวันออก (สถานีรถไฟบ้านทับช้าง)
- รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตเรลลิงก์หรือแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีบ้านทับช้าง)
ทางน้ำ[แก้]
เส้นทางคมนาคมที่สำคัญ ได้แก่
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สวนหลวง ร.9
- สวน 50 พรรษา มหาจักรีสิรินธร
- สวนน้ำบึงหนองบอน
- สวนวนธรรม
- ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง โดยสถาบันปลูกป่า ปตท.
- วัดกระทุ่มเสือปลา
- มัสยิดญามีลุ้ลอิสลาม บ้านจรเข้ขบ (مسجد جميل الإسلام)
- มัสยิดซะห์รอตุ้ลอิสลาม ดอกไม้
- ศูนย์อบรมจริยธรรมอิสลาม มัสยิดดารุ้ลมุสะสีรรร เกาะกลาง
- มัสยิดเราะห์มาตุ้ลอิสลาม
- มัสยิดอัสสอาดะห์
- มัสยิดอ้ามานาตุ้ลอิสลาม
- มัสยิดยามีอุ้ลอิบาดะห์ (บ้านทางควาย)
- มัสยิดนูรุ้ลอิบาดะห์
- มัสยิดฟื้นฟูมรดกอิสลาม