Category Archives: ถนนสุขุมวิท
ถนนสุขุมวิท
ถนนสุขุมวิท is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
ถนนสุขุมวิท (อักษรโรมัน: Thanon Sukhumvit) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ถนนสุขุมวิท
ถนนสุขุมวิท (อักษรโรมัน: Thanon Sukhumvit) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางไปตามชายทะเลภาคตะวันออก และสิ้นสุดที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ถนนสุขุมวิทในกรุงเทพมหานคร มีประวัติเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462[1] เมื่อนางสาว อี. เอส. โคล หรือ “แหม่มโคล” ครูใหญ่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ได้ย้ายโรงเรียนจากข้างโรงพยาบาลศิริราชมาอยู่ริมคลองแสนแสบซึ่งตอนนั้นยังไม่มีชุมชน การคมนาคมก็มีเพียงแต่คลองแสนแสบ จึงขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ตัดถนนเพลินจิตต่อจากถนนปทุมวัน (ถนนพระรามที่ 1) จนถึงจุดบรรจบบนถนนวิทยุที่แยกไปสถานีวิทยุโทรเลข (แยกเพลินจิต) ซึ่งถนนดังกล่าวอยู่ในแนวถนนที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ดำริจะตัดไปสมุทรปราการอยู่แล้ว แต่กรมสุขาภิบาลยังไม่มีเงินสร้าง ในปี พ.ศ. 2466 โรงเรียนกุลสตรีวังหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย นาย เอ.อี.นานา ได้เรี่ยไรเจ้าของที่ดินในย่าน แล้วนำเงินมาให้กรมสุขาภิบาลขุดคลองเอาดินพูนขึ้นเป็นถนน จากจุดตัดของถนนเพลินจิตกับถนนวิทยุ ไปจนถึงซอยเข้าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เป็นระยะทาง 3,072 เมตร
ถนนสุขุมวิท
ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงลพบุรีราเมศร เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ขอพระบรมราชานุญาต รัชกาลที่ 7 ตัดถนนต่อจากปากซอยโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยไปถึงสมุทรปราการ ได้ชื่อว่า “ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ” เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2479 ต่อมาพระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ พระพิศาลสุขุมวิทดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางคนที่ 5 ได้จัดทำ “โครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย” เป็นแม่บทในการสร้างทางหลวงเป็นเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ถูกกำหนดให้เป็นทางสายหลักของภาคตะวันออก จึงสร้างต่อจากสมุทรปราการ ผ่านชลบุรี ระยอง ไปจนถึงตัวเมืองตราด เรียกชื่อว่า “ถนนกรุงเทพฯ-ตราด” ทำให้คณะรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ตราดว่า ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493
ต่อมาได้มีการกำหนดให้รวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 ตลอดทั้งสาย (ช่วงตัวเมืองตราดถึงด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่) ให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ทำให้ถนนสุขุมวิทมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 89 กิโลเมตร
รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]
กรุงเทพมหานคร[แก้]
ถนนสุขุมวิทเริ่มนับหลักกิโลเมตรที่ 0 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออก ไปตามถนนราชดำเนินกลาง ถนนมหาไชย ถนนบำรุงเมือง ถนนพระราม 1 ถนนเพลินจิต และได้เริ่มต้นเรียกชื่อถนนสุขุมวิทตั้งแต่บริเวณถนนเพลินจิตหลังจากข้ามทางรถไฟสายปากน้ำ อนึ่งถนนสุขุมวิทช่วงตั้งแต่สี่แยกใต้ด่วนเพลินจิตถึงซอยสุขุมวิท 52 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตวัฒนากับเขตคลองเตย หลังจากนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเขตพระโขนงและเขตบางนา ก่อนเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ
ถนนสุขุมวิท ช่วงกิโลเมตรที่ 0 ถึงกิโลเมตรที่ 16+389 อยู่ในความควบคุมของของ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
ถนนสุขุมวิทช่วงต้น ๆ สายที่ผ่านกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตธุรกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตามซอยต่าง ๆ ตลอดแนวถนนสุขุมวิทในช่วงนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งบันเทิงใหญ่ของเมืองอีกด้วย และที่สำคัญถนนสุขุมวิทยังมีแนวระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บท ซึ่งก็คือรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทด้วย โดยวิ่งเหนือถนนสุขุมวิทตั้งแต่สถานีเพลินจิตถึงสถานีสำโรง
จังหวัดสมุทรปราการถึงจังหวัดตราด[แก้]
เมื่อเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ จะผ่านอำเภอเมืองสมุทรปราการ ตัดกับทางพิเศษกาญจนาภิเษกเมื่อเข้าสู่ตัวเมืองสมุทรปราการ เส้นทางจะเลี่ยงเมืองไปทางทิศตะวันออก จากนั้นจะเลียบคลองชลประทาน เข้าสู่อำเภอบางบ่อ เมื่อเข้าสู่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ขนาดเส้นทางจึงลดลงเหลือ 2 ช่องจราจรจนถึงแยกคลองอ้อม ตัดกับถนนเทพรัตน และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 แล้วนับกิโลเมตรไปตามถนนเทพรัตน เข้าสู่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เมื่อสุดถนนเทพรัตน ถนนสุขุมวิทจะเข้าตัวเมืองชลบุรี แล้วผ่านอำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง ผ่านเมืองพัทยา และอำเภอสัตหีบ เข้าสู่จังหวัดระยอง ผ่านอำเภอบ้านฉาง อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง เข้าสู่จังหวัดจันทบุรี ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอขลุง เข้าสู่จังหวัดตราด ผ่านอำเภอเขาสมิง อำเภอเมืองตราด และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 48 ในจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา
ถนนสุขุมวิท
ถนนสุขุมวิทในเขตจังหวัดสมุทรปราการยังเป็นที่ตั้งของรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทระยะที่ 2 ระหว่างแบริ่ง – สมุทรปราการ โดยวิ่งเหนือถนนตั้งแต่สถานีสำโรงถึงสถานีเคหะฯ บริเวณย่านบางปิ้ง หรือการเคหะสมุทรปราการ ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ
ถนนสุขุมวิท ช่วงกิโลเมตรที่ 137+640 ถึงกิโลเมตรที่ 153+200 เดิมอยู่ในความควบคุมของกรมทางหลวง แต่ปัจจุบันอยู่ในความควบคุมของของเมืองพัทยา