Category Archives: แขวงวัดอรุณ
แขวงวัดอรุณ
แขวงวัดอรุณ เป็นแขวงหนึ่งใน 2 แขวง ใน เขตบางกอกใหญ่ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู๋ริมฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) เป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตบางกอกใหญ่ตั้งอยู๋ริมฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตลิ่งชันและเขตบางกอกน้อย มีคลองมอญเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพระนครและเขตธนบุรี มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางกอกใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตธนบุรี มีคลองบางกอกใหญ่และคลองบางหลวงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตภาษีเจริญ มีคลองบางกอกใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
ชื่อของเขตบางกอกใหญ่มีที่มาจากคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) ซึ่งเคยเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมแต่แคบลงและกลายเป็นคลองหลังการขุดคลองลัดใน พ.ศ. 2095 เขตบางกอกใหญ่เคยเป็นที่ตั้งของกรุงธนบุรีเมื่อแรกเริ่ม
ใน พ.ศ. 2458 มีชื่อเรียกว่า อำเภอหงสาราม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางกอกใหญ่ ใน พ.ศ. 2481 จากนั้นถูกยุบลงเป็น กิ่งอำเภอบางกอกใหญ่ ขึ้นกับอำเภอบางยี่ขัน จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 มีพระราชกฤษฎีกาตั้งกิ่งอำเภอบางกอกใหญ่เป็น อำเภอบางกอกใหญ่ อีกครั้ง ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใน พ.ศ. 2514[2] และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515[3] ซึ่งได้เปลี่ยนคำว่าอำเภอเป็น “เขต” อำเภอบางกอกใหญ่จึงมีฐานะเป็น เขตบางกอกใหญ่ นับแต่นั้น
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตบางกอกใหญ่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
วัดอรุณ | Wat Arun |
0.834
|
11,320
|
13,573.14
|
|
2.
|
วัดท่าพระ | Wat Tha Phra |
5.346
|
50,259
|
9,401.24
|
|
ทั้งหมด |
6.180
|
61,579
|
9,964.24
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางกอกใหญ่[4] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ถนนวังเดิม
- ถนนเพชรเกษม
- ถนนอรุณอมรินทร์
- ถนนอิสรภาพ
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนจรัญสนิทวงศ์
- ถนนพาณิชยการธนบุรี
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีท่าพระ, จรัญฯ 13 และอิสรภาพ)
ทางน้ำ[แก้]
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดอรุณราชวราราม
- พระราชวังเดิม
- วัดหงส์รัตนาราม
- วัดเครือวัลย์วรวิหาร
- วัดโมลีโลกยาราม
- วัดราชสิทธาราม
- วัดใหม่พิเรนทร์
- วัดนาคกลาง
- วัดท่าพระ
- วัดสังข์กระจาย
- วัดไชยฉิมพลี
- วัดประดู่ฉิมพลี
- สี่แยกท่าพระ
- โรงเรียนทวีธาภิเศก
- โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
- วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
- โรงเรียนวิบูลย์เสรีวิทยา
- โรงเรียนสายประสิทธิ์วิทยา
- หอประชุมกองทัพเรือ
- กองบัญชาการกองทัพเรือ
- หอศิลป์ C13 Art Space สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “สถิติประชากรและบ้าน – จำนวนประชากรแยกรายอายุ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 9 มกราคม 2566.
- ↑ “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 24” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
- ↑ “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “จำนวนประชากรและบ้าน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แขวงวัดอรุณ หลังคา พียู โฟม แขวงวัดอรุณ หลังคา พียู โฟ […]