Category Archives: แขวงดินแดง

แขวงดินแดง

แขวงดินแดง เป็นแขวงหนึ่งใน 2 แขวง ในเขตดินแดง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

LINE: @MKMETALSHEET; 087-808-7771

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตดินแดงตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ที่มาของชื่อเขต[แก้]

พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตดินแดงในอดีตเป็นทุ่งนากว้างขวางเช่นเดียวกับท้องที่รอบนอกแห่งอื่น ๆ ในจังหวัดพระนคร จนกระทั่งในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการตัดถนนต่อจากปลายถนนราชวิถีตรงหัวมุมที่บรรจบกับถนนราชปรารภ (ปัจจุบันคือบริเวณสะพานพรหมโยธี[2] ใกล้ทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง เขตราชเทวี) เข้ามาในพื้นที่ และสร้างต่อไปจนถึงบริเวณโรงเรียนพร้อมพรรณวิทยา (ถนนประชาสงเคราะห์) ในปัจจุบัน[3] ต่อมาถนนสายนี้ได้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในพื้นที่ แต่เนื่องจากใช้ดินลูกรังเป็นวัสดุในการก่อสร้าง เมื่อรถยนต์วิ่งผ่านจึงทำให้เกิดฝุ่นสีแดงกระจายไปทั่ว[3] หลังคาบ้านเรือนถูกฝุ่นจับกลายเป็นสีแดง[2] ผู้คนจึงเรียกถนนสายนี้ว่า “ถนนดินแดง” และเรียกย่านนั้นว่า “ดินแดง”[3] ภายหลังเมื่อทางราชการมีนโยบายเพิ่มเขตการปกครองใหม่ในกรุงเทพมหานคร ก็ได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อของแขวงและเขตด้วย

ประวัติ[แก้]

แต่เดิมพื้นที่เขตดินแดงเป็นส่วนหนึ่งของตำบลสามเสนในและตำบลสามเสนนอก อำเภอบางซื่อ[4][5] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางการได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ยุบรวมอำเภอที่มีจำนวนประชากรและปริมาณงานไม่มากเข้าด้วยกัน ทำให้อำเภอบางซื่อถูกยุบลง ตำบลสามเสนในจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอดุสิต ส่วนตำบลสามเสนนอกย้ายไปขึ้นกับอำเภอบางกะปิ[6] ต่อมาใน พ.ศ. 2509 ทางราชการได้โอนตำบลสามเสนในมาขึ้นกับอำเภอพญาไทที่ตั้งขึ้นใหม่[7] ส่วนพื้นที่ทางด้านตะวันออกของแขวงสามเสนในเพิ่งได้รับการยกฐานะเป็น แขวงดินแดง ขึ้นกับเขตพญาไท[3] หลังจากที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเมืองหลวงเป็นกรุงเทพมหานครไปแล้ว[8]

ต่อมาใน พ.ศ. 2521 จึงมีพระราชกฤษฎีกาโอนแขวงดินแดงไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสมในการปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน[9] ภายหลังเขตห้วยขวางมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น อีกทั้งท้องที่บางแห่งโดยเฉพาะแขวงดินแดงยังอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน ใน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตห้วยขวาง สาขาดินแดงขึ้น[3] เพื่อดูแลพื้นที่แขวงดินแดง

และในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยรวมพื้นที่แขวงดินแดง บางส่วนของแขวงห้วยขวาง บางส่วนของแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง บางส่วนของแขวงสามเสนใน เขตพญาไท และบางส่วนของแขวงมักกะสัน เขตราชเทวี มาจัดตั้งเป็น เขตดินแดง ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการปกครอง การบริหารราชการ และการให้บริการแก่ประชาชนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในท้องที่ และในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงดินแดงเต็มพื้นที่เขตดินแดง โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2537[10][11]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงรัชดาภิเษกแยกจากพื้นที่แขวงดินแดงโดยใช้ถนนมิตรไมตรีและถนนประชาสงเคราะห์เป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตดินแดงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง[12] ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2565)
แผนที่
1.
ดินแดง Din Daeng
4.618
69,075
14,957.77
แผนที่
2.
รัชดาภิเษก Ratchadaphisek
3.736
41,977
11,235.81
ทั้งหมด
8.354
111,052
13,220.48

ประชากร[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

  • 22-25 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – มวลชนแนวร่วมของ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เดินขบวนไปจากสถานที่ชุมนุม เพื่อปิดล้อมรอบนอกสถานที่ มิให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการเปิดรับสมัคร แก่ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ภายในอาคารกีฬาเวสน์ 2 อนึ่ง ในวันถัดมา (26 ธันวาคม พ.ศ. 2556) เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ซึ่งเป็นองค์กรแนวร่วมของ กปปส. ที่ยังคงปักหลักปิดล้อมสถานที่อยู่รอบนอก เข้าปะทะกับกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อทราบว่าสำนักงาน กกต.กำลังดำเนินขั้นตอนการรับสมัคร ให้แก่ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง ส.ส.อยู่ภายใน

การคมนาคม[แก้]

ทางสายหลักในพื้นที่เขตดินแดง ได้แก่

ส่วนทางสายรอง ได้แก่

ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ใกล้แยกสุทธิสาร ในปี พ.ศ. 2565

ทางน้ำมีคลองบางซื่อ คลองน้ำแก้ว คลองสามเสน

และยังมีระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บท ได้แก่

  • รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามแนวถนนรัชดาภิเษก (สถานีพระราม 9, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สถานีสุทธิสาร, สถานีรัชดาภิเษก)
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต, ถนนประชาสงเคราะห์ และตัดขวางบนถนนรัชดาภิเษก (สถานีดินแดง, สถานีประชาสงเคราะห์, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ร่วมกับสายสีน้ำเงิน))
  • รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ตามแนวถนนประชาสงเคราะห์, ถนนมิตรไมตรี, ถนนจตุรทิศ (สถานีประชาสงเคราะห์ (เชื่อมต่อกับสายสีส้ม), สถานีมิตรไมตรี, สถานีดินแดง)

สถานที่สำคัญ[แก้]

สถานที่ราชการ[แก้]

Call Now Button