แขวงคลองเตย หลังคา พียู โฟม แขวงคลองเตย หลังคา พียู โฟม […]
Category Archives: เขตคลองเตย
เขตคลองเตย
เขตคลองเตย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร ถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตคลองเตยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตพระโขนงและอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร), แนวเส้นตรงจากซอยสุขุมวิท 52 ไปบรรจบจุดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตสาทร และเขตปทุมวัน มีขอบทางรถไฟสายแม่น้ำฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
ย้อนไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) บริเวณเขตคลองเตยเคยเป็นที่ตั้งของ เมืองปากน้ำพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะขึ้นไปสู่เมืองอื่น ๆ (อยู่ตรงข้ามกับเมือง (อำเภอ) พระประแดงในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1)
เมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณนี้จึงอยู่ในเขตการปกครองของเมือง (จังหวัด) พระประแดง โดยมีฐานะเป็น ตำบลคลองเตย ขึ้นกับอำเภอพระโขนง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลคลองเตยจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองเตย เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 (คลองเตย) ขึ้นดูแลแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่แขวงทั้งสามตั้งเป็น เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตคลองเตยมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
คลองเตย | Khlong Toei |
7.249
|
58,712
|
8,099.32
|
|
2.
|
คลองตัน | Khlong Tan |
1.895
|
10,584
|
5,585.22
|
|
3.
|
พระโขนง | Phra Khanong |
3.850
|
21,150
|
5,493.51
|
|
ทั้งหมด |
12.994
|
90,446
|
6,960.60
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคลองเตย[2] |
---|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
- ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- อุทยานเบญจสิริ
- สวนเบญจกิติ
- สวนป่าเบญจกิติ
- ช่อง 3 เอชดี
- กรมศุลกากร
- ท่าเรือกรุงเทพ
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- แพตสเตเดียม สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
- วัดคลองเตยใน
- วัดคลองเตยนอก
- วัดสะพาน
- ตำหนักปลายเนิน
สถานศึกษา[แก้]
- โรงเรียนปทุมคงคา
- โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
- โรงเรียนศรีวิกรม์
- โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
การคมนาคม[แก้]
ทางบก[แก้]
- ถนนพระรามที่ 4
- ถนนสุขุมวิท
- ถนนสุนทรโกษา
- ถนนอาจณรงค์
- ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
- ถนนเกษมราษฎร์
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนพระรามที่ 3
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษฉลองรัช
ทางน้ำ[แก้]
ระบบขนส่งมวลชน[แก้]
- สถานีคลองเตย บริเวณถนนพระรามที่ 4 ด้านหน้าสำนักงานการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย บริเวณทิศตะวันออกของจุดตัดทางรถไฟสายแม่น้ำ และทางขึ้น–ลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ซึ่งเป็นจุดบรรจบถนนพระรามที่ 4 ถนนเชื้อเพลิง และถนนดวงพิทักษ์
- สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณถนนรัชดาภิเษก–พระรามที่ 4 ด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณทิศเหนือของทางแยกพระรามที่ 4 จุดบรรจบของถนนรัชดาภิเษก ถนนพระรามที่ 4 และถนนพระรามที่ 3
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (ร่วมกับเขตวัฒนา)